ปัญหาเด็กยากจนในญี่ปุ่น

Main Article Content

พรทิพย์ วาคาบายาชิ

Abstract

การศึกษาเรื่องปัญหาเด็กยากจนในญี่ปุ่นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาและสถานการณ์ของเด็กยากจนในญี่ปุ่นปัจจุบัน รวมถึงวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและมาตรการการแก้ไขปัญหา ในส่วนของวิธีการดำเนินการวิจัยนั้นใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research)

จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักของความยากจนที่พบใน เด็กสืบเนื่องมาจากความยากจนของพ่อแม่ ชนชั้นคนจนมีเพิ่มขึ้นตาม ความแตกต่างทางชนชั้นในสังคมที่มีมากขึ้นๆ ในปัจจุบัน และชนชั้น คนจนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ทำงานแบบไม่ประจำนอกจากนี้แล้ว ยังพบว่าครอบครัวที่มีแม่เป็นผู้เลี้ยงดูลูกคนเดียวมีอัตราความยากจน ของเด็กที่สูงอย่างเห็นได้ชัด

ความยากจนในวัยเด็กยังส่งผลกระทบไปถึงตัวเด็กในอีก หลายๆ ด้าน เช่น ความสามารถด้านการเรียน พบว่าเด็กที่ยากจนมี ความสามารถด้านการเรียนต่ำลง และความยากจนยังเป็นอุปสรรคต่อ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบเด็กที่ไม่สามารถเข้า รับการรักษาพยาบาลได้เนื่องจากพ่อแม่ค้างชำระค่าประกันสุขภาพ

ในส่วนมาตรการการแก้ไขปัญหานั้นรัฐบาลญี่ปุ่นมีมาตรการ ให้ความช่วยเหลือในรูปของการจัดสรรเงินช่วยเหลืออยู่หลายด้าน เช่น เงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตร เงินอุดหนุนด้านการศึกษา แต่กลับ พบว่า ญี่ปุ่นมีการจ่ายเงินอุดหนุนอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศ เดียวที่มีอัตราความยากจนเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้รับเงินจัดสรรจากทาง รัฐบาลแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับ 11 ประเทศใน OECD

เด็กซึ่งถือเป็นอนาคตและเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติ กำลังเผชิญกับปัญหาความยากจนที่มีเพิ่มมากขึ้นๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นปัญหา ใหญ่มากทีเดียวสำหรับญี่ปุ่นซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเด็กเกิดน้อย

 

The Problems of Child Poverty in Japan

Porntip Wakabayashi

Faculty of Education, Ramkhamhaeng University

This study aims to study the problems and situation of child poverty in Japan at the present time, and to analyze their impact and to devise measures to solve these problems. Documentary research was the means employed to collect the data.

According to the study, the main factor of child poverty was the poverty of the parents. At present the number of poor people has been increasing because of the increasing differences in social classes in Japan. Most of the poor people do not have permanent jobs, and some have only a part-time job. Additionally, it is clearly evident that the high rate of child poverty mostly occurs in the family of a single mother.

Poverty affects the children in many ways. Most poor children have low competence in studying and almost no opportunity to pursue higher education. Moreover, poor children do not receive medical services because their parents cannot pay for health insurance. In order to solve these problems, the Japanese government has taken steps to provide help by allocating funds in many ways, for example with child subsidies and education subsidies. However, compared to other developed countries, it was found that Japan has paid subsidies at very low levels. Moreover, compared to the eleven other countries in the OECD, Japan is the only country where the rate of poverty has increased despite the allocation of money.

Japan’s major problem is that children, who are the future of the country, are facing problems of poverty, and this problem is exacerbated by the fact that Japan has entered the era of the aged society, and the birth rate is low.

Article Details

Section
บทความวิจัย