การท่องเที่ยวในฐานะเครื่องมือแก้ไขปัญหาหลัก ของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนเมืองไอคาว่า เกาะซาโดะ จังหวัดนีงะตะ

Main Article Content

พนิดา อนันตนาคม

Abstract

บทความนี้เป็นรายงานชาติพันธุ์วรรณา ในพรมแดนความรู้ ของวิชามานุษยวิทยาการท่องเที่ยว เป็นบทสำรวจเบื้องต้นที่มุ่งเสนอ ปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่ชุมชนประมงไอคาว่าประสบ รวมทั้งนำเสนอ วิธีการที่ชุมชนเลือกนำการท่องเที่ยวเข้ามาผสมผสานกับวิถีชีวิตเพื่อ บรรเทาและแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไปของคนในชุมชน ผลการศึกษาพบว่าปัญหาหลักๆ ที่ชุมชนประมงไอคาว่า เผชิญนั้น ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ ราคาปลา ที่ตกต่ำลง และปัญหาไร้ผู้สืบทอดกิจการ ซึ่งผู้คนในชุมชน นำโดย องค์กรบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นและสหกรณ์การประมงได้ร่วมมือกัน นำการท่องเที่ยวเข้ามาผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการทำประมงเพื่อ รับใช้และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในลักษณะที่ผู้คนในชุมชนจงใจที่จะคง อัตลักษณ์แห่งความเป็นชาวประมงไว้สูง ส่งผลให้ชุมชนสามารถดำรง อยู่ได้แม้จะไม่ต้องพึ่งพิงการท่องเที่ยวอย่างเต็มตัว

 

Tourism as a Tool to Solve Major Problems in the Community: a Case Study of Aikawa-machi in Sadogashima Niigata Prefecture, Japan

Panida Anantanakom**

This paper is an ethnography study of tourism from the perspective of the anthropology of tourism and presents some of the problems that fishermen are facing in Aikawa-Machi in Japan, including the solutions that people there are using to solve the tourism problems in their community. The research revealed that among the major problems in this community are a decrease in aquatic animals, a fall in the price of fish, and not having successors to their businesses. The people in the community, led by the local administration and fishery cooperatives, are working together to use tourism as a part of the solution so that the people in the community can retain their identity as fishermen and not completely rely on tourism.

** Lecturer, PhD., Division of Japanese Language, Faculty of Humanities, Chiang Mai University, Address: 239 Huaykaew Rd., Muang, Chiang Mai, 50200

Article Details

Section
บทความวิจัย