ปรากฏการณ์ทางศาสนาในวัฒนธรรมประชานิยม : ว่าด้วย “พุทธะ” ในมังงะ/อนิเมะเรื่อง “Saint Young Men”

Main Article Content

เดโชพล เหมนาไลย

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ กล่าวคือ ประการ แรก เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางศาสนาที่ปรากฏในวัฒนธรรม ประชานิยมผ่านการศึกษาตัวละครที่ชื่อ “พุทธะ” (Buddha) ใน มังงะ/อนิเมะเรื่อง “Saint Young Men” (Saint Oniisan/ ศาสดาเดินดิน)” ประการที่ 2 เพื่อศึกษาผลตอบรับของ ผู้อ่าน/ผู้ชมในสังคมไทยต่อมังงะ/อนิเมะเรื่องนี้ และประการ สุดท้าย เพื่อเสนอแนวทางทำความเข้าใจและท่าทีที่พึงประสงค์ ต่อปรากฏการณ์นี้สำหรับชาวพุทธในสังคมไทย จากการสำรวจ สืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต พบว่ามีผู้อ่าน/ผู้ชมที่เป็นชาวพุทธ กลุ่มหนึ่งที่มีปฏิกิริยาทางลบต่อ “Saint Young Men” เนื่องจาก เห็นว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ เสนอ “สามเหลี่ยมแห่งความเข้าใจ: รู้เรา/รู้เขา/รู้โลก” เพื่อการ ทำความเข้าใจและสร้างท่าทีเชิงสร้างสรรค์ต่อปรากฏการณ์นี้ ซึ่ง “รู้เรา” คือ ความรู้เกี่ยวกับคำสอน/หลักการของพุทธศาสนา เถรวาท ”รู้เขา” คือ ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น (Japanese Buddhism) และสังคม-วัฒนธรรมร่วมสมัยของประเทศ ญี่ปุ่น รวมทั้ง “ไวยากรณ์” ของมังงะ/อนิเมะ ส่วน “รู้โลก” คือ ความรู้เกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมในบริบทโลกปัจจุบัน

 

Religious Phenomena in Popular Culture: On “Buddha” in “Saint Young Men” (Saint Onii-san)

Dechopol Hemnalai*

The purpose of this paper is threefold: firstly, to study religious phenomena in popular culture through the character of the “Buddha” in “Saint Young Men” (Saint Onii-san), a Japanese manga/anime; secondly, to study the response of the Thai readers/audiences; and thirdly, to propose a way to understand this phenomenon and the appropriate attitude for Thai Buddhists. By investigating Internet resources, it was found that some Thai Buddhist readers/audiences have a negative reaction to, or are offended by, Saint Young Men because they think that it is insulting to the Buddha. For this reason the present author presents the “Triangle of Understanding: Know Ourselves, Know Others, and Know the World” for better understanding and creating a positive attitude towards this phenomenon, i.e. “Know Ourselves”-knowledge of the doctrines/principles of Theravada Buddhism; “Know Others”-knowledge of Japanese Buddhism, the socio-cultural state of contemporary Japan, and the grammar of manga/ anime; and “Know the World”-knowledge of religion and culture in the present-day context.

* Lecturer in the Department of Philosophy, Thammasat University. Address: Department of Philosophy, Thammasat University, Tha Prachan, Bangkok 10200

Article Details

Section
บทความวิจัย