กระแสนิยมเครยอน ชินจัง กับ โลกทัศน์ของไทย ในทศวรรษที่ 2530-2540

Main Article Content

มนวัธน์ พรหมรัตน์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยในช่วงทศวรรษที่ 2530-2540 ที่ส่งผลให้เกิดกระแสความนิยมหนังสือการ์ตูนเครยอน ชินจัง 2) ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์ของคนในสังคมไทยที่ สะท้อนผ่านเนื้อหาของการ์ตูนเครยอน ชินจัง ฉบับแปลภาษา ไทย ผลการศึกษาพบว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทย ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2530 ทำให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงความรู้สึก “ตลก” ขึ้นในสังคม จากความตลกที่มา จากความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในเมืองและชนบท มาสู่ความ ตลกที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดวางตำแหน่งแห่งที่ ของตนเองได้อย่างเหมาะสมท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วได้ การ์ตูนเครยอน ชินจัง จึงตอบรับความรู้สึก “ตลก” ชุดใหม่ของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ความนิยมในการ์ตูน ดังกล่าวส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากเนื้อหาในการ์ตูนซึ่งสอดรับกับ โลกทัศน์บางประการของสังคมไทย ซึ่งได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับ อำนาจในการจัดการชีวิตตนเองของผู้หญิง และโลกทัศน์เกี่ยวกับ ความยากในการใช้ชีวิตของคนในเมือง

 

The Popularity of Crayon Shin-chan and the Thai Worldview in 1987-2006

Manawat Promrat**

This study aims to; 1) investigate the social, economic, and political context in Thailand between 1987-2006 which influenced the popularity of Crayon Shin-chan comics in Thai version; and 2) find out the changes of Thai worldview which were reflected by Thai-translated content of Crayon Shin-chan. The study revealed that the social, economic, and political context in Thailand from 1986 changed the sense of ‘humor’ of Thai people, And because the Crayon Shinchan in Thai version conformed to the new sense of humor, this comic became popular among Thai teenager reader. Moreover the content of Crayon Shin-chan reflected Thai worldview regarding to the women’s power of self decision and the sense of difficulty of Thai urban life. 

** Lecturer, General Education Modules, School of Liberal Arts, Walailak University, Adress: 222 Thaiburi, Thasala District, Nakhon Si Thammarat 80160

Article Details

Section
บทความวิจัย