IMAGES OF CHILDREN AND PARENTS IN NOH PLAYS FROM DIFFERENT PERIODS

Main Article Content

Sirimonporn Suriyawongpaisal
Winai Jamornsuriya

Abstract

This research compares the images of children and parents in Noh plays of different periods. It studies the images of children and parents in Noh plays either written after the Muromachi period or of uncertain date (for convenience, “plays from other periods”), a total of 146 plays. It then compares the images with those found in Noh plays written during the Muromachi period (C14th -16th), a total of 133 plays. The research thus gives a comprehensive picture of the images of children and parents in Noh plays of all periods.

The study finds that the image of children and mothers in both groups of plays is a positive one. In plays from the romachi period, the most salient image of children is life sacrifice for the father, whereas in those from other periods the focus is usually on filial care of parents. As for mothers, in plays from the Muromachi period, they are mostly shown protecting their children especially the son; in other periods, they are driven even to insanity as they search for lost children, mostly the son. In contrast, in Muromachi plays, fathers have negative images, as they threaten the life of or actually cause the death of children. In plays from other periods, however, fathers are portrayed more positively. The most salient one is as protectors of their children.

 

ภาพลักษณ์พ่อแม่ลูกในบทละครโนต่างสมัย

สิริมนพร สุริยะวงศ์ไพศาล**

วินัย จามรสุริยา***

**ศาสตราจารย์ ดร., คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

***อาจารย์ ดร., คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

งานวิจัยนี้ศึกษาภาพลักษณ์ของพ่อแม่ลูกในบทละครโน สมัยอื่นซึ่งหมายถึงเรื่องที่แต่งหลังสมัยมุโระมะชิและเรื่องที่ยังไม่มี หลักฐานแสดงว่าแต่งในสมัยมุโระมะชิ โดยเป็นเรื่องที่แสดงความ สัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก จำนวน 146 เรื่อง และเปรียบเทียบ กับภาพลักษณ์ของพ่อแม่ลูกในบทละครโนที่แต่งในสมัยมุโระมะชิ (คริสต์ศตวรรษที่ 14-16) ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ เสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล งานวิจัยนี้จึงให้ภาพรวมของภาพลักษณ์ของ พ่อแม่ลูกในบทละครโนทุกสมัย

การวิจัยได้พบว่าภาพลักษณ์ของลูกและแม่ในบทละครโน ทั้งสองกลุ่มเป็นภาพลักษณ์ด้านบวก โดยเรื่องที่แต่งในสมัยมุโระมะชิ มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของลูกคือ การเสียสละชีวิตเพื่อพ่อ ภาพลักษณ์ ที่โดดเด่นของแม่คือ การปกป้องลูกโดยเฉพาะลูกชาย ขณะที่เรื่อง ที่แต่งในสมัยอื่น มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของลูกคือ การดูแล พ่อแม่อย่างดี ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของแม่คือ การมีอาการวิกลจริต และเดินทางตามหาลูกซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกชาย ในทางตรงกันข้าม ภาพลักษณ์ของพ่อในเรื่องที่แต่งในสมัยมุโระมะชิเป็นด้านลบมากกว่า ด้านบวก ภาพลักษณ์ด้านลบที่โดดเด่นคือ การเป็นเหตุให้เกิดภัยแก่ ชีวิตลูกหรือเป็นเหตุให้เสียชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกสาว แต่เรื่องที่แต่ง ในสมัยอื่นมีภาพลักษณ์ของพ่อด้านบวกมากขึ้นโดยเฉพาะต่อลูกสาว ภาพลักษณ์ด้านบวกที่โดดเด่นของพ่อในเรื่องที่แต่งในสมัยอื่นคือ การปกป้องลูก

Article Details

Section
บทความวิจัยและบทความวิชาการ