โหมโรงซากุระ : สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์

Main Article Content

นภดล ทิพยรัตน์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาภาพรวมของเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นที่ยังคงปรากฏในวัฒนธรรมดนตรีไทยในปัจจุบัน และศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางสังดีตลักษณ์ของเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่น ซึ่งมีเพลง "โหมโรงซากุระ" เป็นกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาการดนตรี (Ethnomusicology) ร่วมกับกระบวนการทางดนตรีวิทยา (Musicology)

จากการศึกษาพบว่าเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นในวัฒนธรรมดนตรีของไทยในปัจจุบันนั้นมีจำนวนน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นผลงานประพันธ์เพลงของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาในประเทศไทย สำหรับเพลงโหมโรงซากุระซึ่งเป็นเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นที่เป็นเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นที่เป็นกรณีศึกษาครั้งนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากเพลง "ซากุระ" ซึ่งเป็นเพลงประจำชาติญี่ปุ่น โดยมีการประพันธ์เป็นทางเปลี่ยน (Variation) เป็นท่อนต่างๆจำนวน 6 ท่อน และแต่ละท่อนก็ยังคงมีท่วงทำนองแบบดนตรีญี่ปุ่นปรากฏอยู่ผสมผสานกับท่วงทำนองดนตรีไทยได้อย่างลงตัว แล่วนำมาร้อยเรียงเป็นเพลงใหม่

แม้ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งในวัฒนธรรมดนตรีของไทย คือการประพันธ์เพลงไทยให้มีสำเนียงใกล้เคียงกับบทเพลงของชนชาติต่างๆ และเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นอาจมีอยู่จำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเพลงไทยสำเนียงอื่นๆ แต่บทเพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงมิติทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี และการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การประพันธ์เพลงไทยสำเนียงญี่ปุ่นใหม่ๆได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นการส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีไทยให้เกิดผลงานใหม่ๆในอนาคตอีกด้วย

Article Details

Section
บทความวิจัยและบทความวิชาการ