การบ่อนเซาะอัตลักษณ์ความเป็นชาติในงานวรรณกรรมของโอเอะ เคนสะบุโร
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและการสร้างตัวละครที่ปรากฏในงานวรรณกรรมยุคต้นๆ ของโอเอะ เคนสะบุโร โดยมีขอบเขตการวิจัยในนิยายสองเรื่องที่มีจุดร่วมและแก่นเรื่องที่คล้ายคลึงกัน คือ เรื่องเลี้ยงดู『飼育』(1957) และฆ่ามันซะอย่าให้มันโต『芽むしり仔撃ち』(1958) ผู้วิจัยต้องการศึกษาวิเคราะห์ว่า แนวคิดชาตินิยมที่ปรากฏในผลงานยุคต้นๆ ของโอเอะ เคนสะบุโรนั้น ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์และโครงเรื่องในงานเขียนอย่างไร และตัววรรณกรรมได้โต้กลับแนวคิดดังกล่าวด้วยการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นชาติออกมาอย่างไร โดยได้อ้างอิงแนวคิดต่างๆ ที่มีต่อลัทธิชาตินิยม แนวคิดเรื่องความเป็นอื่น และแนวคิดการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ ผู้วิจัยเห็นว่า ผลงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงผลในทางลบของแนวคิดชาตินิยมที่มีต่อปัจเจกชน และยังพบกระบวนการทำให้กลายเป็นอื่นและบทลงโทษที่มีต่อตัวละครในเรื่อง อย่างไรก็ดี งานวรรณกรรมดังกล่าวได้แสดงให้เห็นการบ่อนเซาะอัตลักษณ์ความเป็นชาติที่เป็นผลจากแนวคิดชาตินิยมปรากฏอยู่ด้วย
Article Details
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสาร jsn Journal