การศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า “ค่อย” ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า ค่อย ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยปัจจุบันตามแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา ผลการศึกษาหน้าที่และความหมายของคำว่า “ค่อย” พบว่า สามารถจัดกลุ่มความความหมายตามบริบทการใช้ได้ 3 กลุ่ม คือ ‘ไม่ดัง เบา’ ‘ลักษณะอาการใดๆ ที่ไม่ดัง หรือ เบา’ และ ‘ลำดับถัดไป ไม่ใช่ขณะนี้’ เมื่อวิเคราะห์ลักษณะทางความหมายและวากยสัมพันธ์ของการใช้คำว่า ค่อย จึงสามารถสรุปได้ 2 หมวดหมู่ คือ หมวดหมู่คำศัพท์ ได้แก่ กริยาหลักและกริยาวิเศษณ์ อีกทั้งยังพบหมวดหมู่คำหน้าที่ คือ กริยาช่วย เมื่อพิจารณาลักษณะทางความหมายของหมวดหมู่ที่ต่างกันสอดคล้องกับโครงสร้างวากยสัมพันธ์ที่ต่างกันออกไป แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการกลายเป็นคำไวยากรณ์ คือ การเกิดความหมายทั่วไป การสูญเสียคุณสมบัติของหมวดคำเดิม และการขยายความหมายเชิงอุปลักษณ์ โดยกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำกริยา “ค่อย” ในภาษาไทยปัจจุบันจำแนกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ คำกริยาหลักกลายเป็นกริยาวิเศษณ์และคำกริยาหลักกลายเป็นคำกริยาช่วยที่บ่งทัศนภาวะที่อาจเป็นจริง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
ภาษาศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1(1),1-20.
ไพทยา มีสัตย์. (2540). การศึกษาคำช่วยหน้ากริยาที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2546). การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรลักษณ์ วีระยุทธ. (2556). การกลายเป็นคำไวยากรณ์. ใน วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1(1),
108-132.
สัณห์ธวัช ธัญวงศ์. (2557). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้”. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). ยัง: การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
ภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2555). ชุดกริยาในภาษาไทย: กริยาเรียงหรืออื่นใด?. ใน วารสารภาษาและ
วัฒนธรรม ปีที่ 31 ฉบับที่ 1(2), 35-66.
อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2558). วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์: ภาษาศาสตร์ในแนวหน้าที่นิยมแบบลักษณ์
ภาษา. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 209522 วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Givon, T. (2001). Syntax Vol.I, II. Amsterdam/Philadelphea: John Benjamins Publishing Company.