กระบวนทัศน์สตรีไทยด้านก้าวหน้านิยมในนวนิยายของณารา ระหว่างปีพุทธศักราช 2549-2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์สตรีไทยด้านก้าวหน้านิยมที่ปรากฏในนวนิยายของณาราที่ได้ตีพิมพ์ระหว่างปีพุทธศักราช 2549-2558 ผลการศึกษาพบว่ากระบวนทัศน์สตรีไทยด้านก้าวหน้านิยมได้สร้างวาทกรรมจำนวน 4 ชุด คือ วาทกรรมเชื่อมั่นในตัวเองพบ 2 ประเด็น การเชื่อมั่นในตนเองด้านการทำงาน และการเชื่อมั่นในตนเองด้านความสวยงาม วาทกรรมรักอิสระพบ 3 ประเด็น คือ อิสระด้านการแต่งงาน อิสระด้านการมีเพศสัมพันธ์ และอิสระด้านการเข้าใกล้ชิดชาย วาทกรรมเลือกคู่ครองพบ 4 ประเด็น คือ การมีชื่อเสียงในสังคม การมีทรัพย์สมบัติ ความรัก และรูปร่างหน้าตา วาทกรรมต้องการชีวิตสมบูรณ์แบบพบ 3 ประเด็น คือ ด้านการทำงานประกอบอาชีพ ด้านครอบครัว และด้านชื่อเสียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงในยุคปัจจุบันได้รับอิทธิพลทางความคิดจากแนวคิดผู้หญิงยุคใหม่ ทำให้พวกเธอต้องการอิสระในการกำหนดทางเดินชีวิต ไม่ต้องการอยู่ภายใต้กรอบจารีต และเชื่อมั่นในความสามารถของตน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ณารา. (นามแฝง). (2549). รักสุดใจผู้ชายของฉัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2551ก). กลรักลวงใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2551ข). กาลเวลา สงคราม ความรัก ตอน ขุมทรัพย์แห่งมาซิดอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2551ฃ). ปลาไหลป้ายแดง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2551ค). เพลงรักเพลิงมายา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2552). ธาราหิมาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2553). ทะเลไฟ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2555ก). กามเทพปราบมาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2555ข). บ่วงวิมาลา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2556). 9 เล่ห์ รัก ร้าย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ณารา. (นามแฝง). (2558). มารีมายา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
ไทยพีบีเอส. (2560). อำแดงเหมือนกับนายริด. ค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561 จาก https://program.thaipbs.or.th/Umdang
มาลี พฤกษ์พงศาวลี. (2544). สถานภาพทางกฎหมายของสตรี: พัฒนาการจาก “ควาย” สู่ “คน” ข้อมูลจากพระบรมราชวินิจฉัยรัชกาลที่ 4. ดุลพาท. 1(48). 5-23.
เสาวคนธ์ วงศ์ศุภชัยนิมิต. (2559). การศึกษาสถานภาพและบทบาทผู้หญิงในนวนิยายของณารา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.