กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อรักษาหน้าในการตอบคำถามของผู้ให้สัมภาษณ์รายการ “คนดังนั่งเคลียร์” และ “ยิ่งศักดิ์ยิ่งแซ่บ”
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของกลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามของผู้ให้สัมภาษณ์รายการคนดังนั่งเคลียร์และยิ่งศักดิ์ยิ่งแซ่บ โดยการศึกษาครั้งนี้จะเลือกเก็บข้อมูลจากรายการคนดังนั่งเคลียร์และยิ่งศักดิ์ยิ่งแซ่บที่มีการเผยแพร่ย้อนหลังในเว็บไซต์ YouTube ซึ่งเป็นเทปบันทึกรายการที่รวบรวมเฉพาะประเด็นข่าวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก รวมจำนวน 13 เทป และคัดเลือกเฉพาะข้อความที่มีการถามแบบคุกคามหน้าผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวนทั้งหมด 200 ข้อความ ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของกลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามของผู้ให้สัมภาษณ์รายการคนดังนั่งเคลียร์และยิ่งศักดิ์ยิ่งแซ่บมีการใช้กลวิธีการรักษาหน้าทั้งหมด 13 ประเภท ได้แก่ การพูดกลบเกลื่อน การให้เหตุผล การปฏิเสธ การหัวเราะ การพูดคลุมเครือ การตอบแย้ง การยอมรับ การกล่าวอ้างบุคคลอื่น การถามคำถามย้อนกลับ การประชดประชัน การพูดตลก การถ่อมตนเอง และการร้องไห้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัทธฤทัย สีหะเกรียงไกร. (2549). “กลวิธีการปฏิเสธเพื่อปกปิดความจริงในภาษาไทยของวัยรุ่น.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิจจาภา วงศ์กระจ่าง. (2545). “กลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามของนักการเมืองไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมล งามยิ่งยวด. (2557). “กลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามจากรายการวู้ดดี้เกิดมาคุย.” ใน
การประชุมหาดใหญ่และวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 5, 216-231. สำนักวิจัย
และพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิรวัตร ไทยแท้. (2555). “กลวิธีความสุภาพในการปฏิเสธการขอร้องของผู้โดยสาร: กรณีศึกษาพนักงานบริการ
ผู้โดยสารภาคพื้นของสายการบินไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์
ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2552). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษา
และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม.
Brown, P and Levinson, S. (1987). Politeness: Some Universals in Language Usage.
Cambridge: Cambridge University Press.