การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาระหว่างเพศหญิงและเพศชายที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ทางเพศ

Main Article Content

โชติกา เศรษฐธัญการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาไทยระหว่างเพศหญิงและเพศชายซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาพพจน์ทางเพศ (gender stereotypes) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 20 คน แบ่งเป็นชาย 10 คน และหญิง 10 คน และใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือให้กลุ่มตัวอย่างเขียนอธิบายสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งเดียวกันตามที่กำหนดให้ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการใช้คำศัพท์ 2) ด้านความสามารถในการให้ข้อมูล 3) ด้านความสามารถในการใช้ประโยค 4) ด้านความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลให้สัมพันธ์กัน 5) ด้านความสามารถในการสื่อความหมาย 6) ด้านความละเอียดในการอธิบาย


จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยทางเพศมีผลต่อความสามารถในการใช้ภาษา เพศชายมีความสามารถในการอธิบายสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่เพศหญิงมีความสามารถในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมมากกว่าเพศชาย ซึ่งผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าในภาพรวมเพศหญิงและเพศชายมีลักษณะการใช้ภาษาตรงกับภาพพจน์ทางเพศหรือคตินิยมที่สังคมมีต่อเพศหญิงและเพศชาย โดยเฉพาะในด้านการแสดงออกทางความคิดที่เพศชายมักมีความคิดผิวเผินหรือมีความเป็นรูปธรรมสูง ส่วนเพศหญิงมักมีความคิดลึกซึ้งหรือมีความเป็นนามธรรมสูง แต่ในส่วนของรายละเอียดกลับมีหลายด้านที่ไม่ตรงตามภาพพจน์เสมอไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2524. พฤติกรรมศาสตร์เล่ม 2: จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Brannon, Linda. (1999). Gender: Psychological Perspectives (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cameron, Deborah. (1997). Language: Sociolinguistic and Sociobiology. United Kingdom. Retrieved from https://cogweb.ucla.edu/Abstracts/Cameron_97.html.

Conrick, Maeve. (1996). Gender and Linguistic Stereotyping. University College Cork: HEEU. Retrieved from https://www.ucc.ie/publications/heeu/womenstf/3_conrick.htm#FOOTNOTE_7.

Tannen, Deborah. (2001). You Just Don’t Understand: Women and Men in Conversation. New York: Quill.

Jenkins, Patricia Ann. (2000). Linguistic differences between male and female developmental writers. Tennessee State University. Retrieved from https://e-research.tnstate.edu/dissertations/AAI3007585/.

Kristen, E. Link & Roger, J. Kreuz. (1999). Do Men and Women Use Nonliteral Language Differently When They Talk About Emotions?. The University of Memphis. Los Angeles. Retrieved from https://www.psyc.memphis.edu/faculty/kreuz/Psycho99.pdf+Gender+difference+in+language,+thesis&hl=th&ct=clnk&cd=45&gl=th.

Richard O'Kearney. (2001). Language for Emotions in Adolescence: Effects of Age, Gender, and Type of Emotional Disorder. PhD, Griffith University, Griffith Health, School of Applied Psychology. Retrieved from https://ariic.library.unsw.edu.au/griffith/adt-QGU20050919-024406/.

Sabbatini, Renato M.E. (2007). Are There Differences between the Brains of Males and Females?. State University of Campinas, Brazil. Retrieved from https://www.cerebromente.org.br/n11/mente/eisntein/cerebro-homens.html.