ความเชื่อเหนือธรรมชาติในภาษาเวียดนาม

Main Article Content

เมธัส ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความเชื่อเหนือธรรมชาติในภาษาเวียดนาม โดยการค้นคว้าจากพจนานุกรม  2 เล่ม สำนวนสุภาษิตเวียดนาม นิทาน ชื่อละคร และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความเชื่อเหนือธรรมชาติในภาษาเวียดนามจำนวน 348 คำ ผลการศึกษาพบว่ามีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความเชื่อเหนือธรรมชาติ 3 หมวด ดังนี้ 1) หมวดคำเรียกผีพบจำนวน 158 คำ ประกอบด้วย 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1.1) คำเรียกผีจำนวน 26 คำ 1.2) อารมณ์ของผีจำนวน 21 คำ 1.3) พฤติกรรม/การกระทำของผีจำนวน 22 คำ 1.4) บุคคล สถานที่ สิ่งของ และพลังอำนาจ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผี จำนวน 89 คำ 2)หมวดคำเรียกเทพเจ้าในศาสนาพบจำนวน 170 คำ ประกอบด้วย 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ 2.1) เทวดาในศาสนาพุทธจำนวน 89 คำ 2.2) เทพเจ้าในศาสนาคริสต์จำนวน 53 คำ 2.3) เทพเจ้าอื่นๆจำนวน 27 คำ 3) หมวดคำเรียกปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ 21 คำ ตามลำดับ อนึ่งคำศัพท์ดังกล่าวแสดงอัตลักษณ์ของชาวเวียดนาม 3 ประการสำคัญคือ 1) ความเชื่อเรื่องภูตผี 2) การนับถือศาสนา 3) ความเชื่อเรื่องปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาอังกฤษ

Jesudas M.Athyal,Editor. (2015). Religion in Southeast Asia. California.

Kwon, Heonik (2008). Ghosts of War in Vietnam. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-88061-0.

ภาษาไทย

กัมปนาท ขำแก้ว (2559). “ผี” ปฐมบทแห่งความน่าสะพรึงกลัว พัฒนาการของผีไทย “ผีบุพกาล” สู่ “ผีพาณิชย์”. วารสารรูสมิแล, 37(3), 63-87.

ปฏิญญา บุญมาเลิศ. (2554). คำเรียกผีและความเชื่อเรื่องผีในภาษาไทยถิ่นเหนือในหมู่บ้านป่าเสร้าหลวง ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ฟื้น ดอกบัว. (2554). ประวัติพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2550). คำเรียกประเภทผีของคนไทยในชุมชนวัดสวนแก้ว ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2558). การศึกษาระบบคำเรียกผีและมโนทัศน์เรื่องผีในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ อ.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เมธัส ศิริวัฒน์. (2561). ชื่อละครโทรทัศน์เวียดนามในมิติภาษาและวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

วู ถิ กิม จี. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนเวียดนามกับสำนวนไทย. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สมหมาย ชินนาค. (2538). ผีปะกำ : คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวไทย - กวย (ส่วย)เลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ มน.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

โสภนา ศรีจาปา. (2544). โลกทัศน์ของชาวเวียดนามจากสุภาษิต. โครงการอินโดจีนศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนาธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สำนักพิมพ์เท้เซ้ย (Thế Giới Publishers). (ไม่ระบุปี). Vietnamese Legends and Folk Tales. สุนทร โคตรบรรเทา(ผู้แปล). กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์. (2558)

เหงียน ถิ แทง ถวี และกาญจนา วิชญาปกรณ. (2561). วิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(1), 99-114.

ภาษาเวียดนาม

Phạm Quang Minh. (2010). Từ điển Việt - Thái. Tp.Hồ Chí Minh : Neb. Tp.Hồ Chí Minh

Nguyên chí thong (เหงียน จิ ธง). (2001). Từ điển Thái Lan – Việt. Bangkok : Thailand.

Trần Ngọc Thêm. (2014). Tìm về bản sắc văn hóa Việt Nam. Cái nhìn hệ thống - loại hình. - NXB Tp.HCM: in lần 1-2-3-4: 1996, 1997, 2001, 2004, 2006 (680 tr.).

Website

joy. (เข้าถึง 22 มกราคม 2563). "ความเชื่อในเวียดนาม". [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://ghostaec.blogspot.com/2014/08/blog-post_6.html

บ่านเถ่อ (Bàn thờ). (เข้าถึง 22 มกราคม 2563). ศาลบรรพบุรุษกับความเชื่อของคนเวียดนาม. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.vcharkarn.com/blog/13232

Sithiphong. (เข้าถึง 22 มกราคม 2563). ขนพองสยองเกล้า!! สถาบันวิจัยเวียดนามถ่ายรูป"ผี" ไว้นับพัน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจากhttp://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000061635

กาญจนพงค์ รินสินธุ์. (เข้าถึง 22 มกราคม 2563). ความเชื่อในผีสางวิญญาณในอาเซียน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://aseanpedia.wu.ac.th/site/readencyclopedia?id=128