การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย : สภาพปัญหา รูปแบบ และ กระบวนการสอนแบบสองภาษา

Main Article Content

ศศิวิมล คงสุวรรณ
เบญจมาภรณ์ ฤาไชย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการศึกษาของเด็กหูหนวก รูปแบบและกระบวนการสอนแบบ สองภาษาสำหรับเด็กหูหนวกไทยในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันแนวทางการสอนเด็กหูหนวกไทยมีการใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถาบันการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาตลอดจนระดับโรงเรียนสำหรับเด็กหูหนวก จากการศึกษางานวิจัยทางการศึกษา ภาษาศาสตร์ภาษามือ และประสบการณ์การลงภาคสนามที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดลของผู้เขียนเอง พบว่า การสอนเด็กหูหนวกในประเทศไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองระบบใหญ่ๆ คือ 1. ระบบที่เน้นวิธีการพูดและการฟัง อาทิ การสอนในระบบรวม (Total Communication) การสอนที่เน้นการพูด (oral method) หรือการสอนแบบเน้นการฟัง (Auditory-based Approach) และ 2.การสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) ที่ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับสอนเด็กหูหนวก ทั้งนี้การใช้กระบวนการสอนแบบสองภาษาเริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนเด็กหูหนวกมากขึ้น โดยวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถานการศึกษาแห่งแรกที่เริ่มนำการสอนแบบสองภาษามาใช้ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กหูหนวกในรูปแบบการเรียนแบบสองภาษาสองวัฒนธรรม (Bilingual-bicultural Education : Bi-Bi Education) ด้วยเชื่อว่าวิธีการสอนดังกล่าวนอกจากจะเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กหูหนวกแล้ว ยังส่งผลให้ผู้เรียนหูหนวกเข้าไปสู่สังคมของผู้ที่มีการได้ยินและอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). การสอนปฐมวัยสองภาษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 6(4), 27-34.

จิตประภา ศรีอ่อน. (2547). การประเมินผลโครงการห้องเรียนสาธิตการสอนแบบสองภาษา สำหรับเด็กหูหนวกในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม.นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุลและสุขสิริ ด่านธนวานิช. (2556). บุคลากรสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาหูหนวก. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 235-242.

พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์. (2563). พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์, 11 มิถุนายน 2563. http://www.e-tsl.com/browsex.php

วุฒิชัย เนียมเทศ. (2555). บริหารโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Program) อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,

(3),1-17

รายงานสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. (2561).ประเภทความพิการ. 7 มิถุนายน 2563. https://nadt.or.th/pages/stat61.html

ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS Thailand). (2563). เรื่อง บขส. เตรียมเปิดเดินรถเส้นทาง ภาคเหนือ-อิสานและตะวันออก 18 พ.ค.นี้. สืบค้นจากเว็บไซต์หน่วยงานศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย.7 มิถุนายน 2563. https://www.facebook.com/TTRSThailand/videos2604584379812433/UzpfSTEwMDAxMDA5NTY5MzQ0MDoxMjA1NjU0NTc2NDQ3NzIx.

โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช. (2556) รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.

ภาษาอังกฤษ

Baker, C. (2001). Foundation of Bilingual Education and Bilingualism.England:Clevedon, Multilingual Matters.

Collins-Ahlgren, M. (1990). Spatial-locative predicates in Thai Sign Language. In C. Lucas (Ed.), Sign language research: Theoretical issues (pp. 103-117). Washington, DC: Gallaudet University Press

Danthanavanich, S. (2004). The structure of Thai Sign Language in Deaf Community: at word level. Term paper for LCLG 626 Directed Research, semester 2/2003. Institution of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University. (in Thai)

Emmorey, K. (2002). Language, Cognition, and the Brain. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum

Gertz, G. and Boudreaulty, T. (2016) Introduction: A Snapshot of Advancements in Deaf Communities. in. The SAGE Deaf Studies Encyclopedia. United States of America: SAGE Publications.

Johnston, T. and Schembri, A. (2007) Australian Sign Language (Auslan). An Introduction to Sign Language Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press

Knoors, H., & Marschark, M. (2012). Language planning for the 21st century: revisiting bilingual language policy for deaf children. Journal of Deaf Studies and Deaf Education, 17(3), 291–305.

Marschark, M,. Tang, M,. and Knoors.H,. (2014). Bilingualism and Bilingual Deaf Education. United States of America. Oxford University.

Nieves B. (2016). Deaf Education History: Pre-1880. The SAGE Deaf Studies Encyclopedia. United States of America: SAGE Publications.

Nonaka, A.M. (2004). The forgotten endangered language: Lessons on the important ofremembering from Thailand’s Ban Khor Sign Language. Language in society, 33 (5). 737-68.

Padden, C. (1980). The deaf community and the culture of deaf people. In C. Baker, & R. Pattison (Eds.) Sign language and the deaf community. Silver Spring: National Association of the Deaf.

Zhao, S. H., Liu, Y. B., & Hong.H.Q. (2007) Singaporean Preschoolers’ Oral Competence in Mandarin. Language Policy. (6).73-94.

Woodward, James C. (1996). Modern Standard Thai Sign Language, influence from ASL, and its relationship to original Thai sign varieties. Gallaudet University Press (92). 227–52.