การวิเคราะห์บทสู่ขวัญคน ในพื้นที่บ้านเป๊าะหมู่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาบทสู่ขวัญที่ใช้สำหรับบุคคลของชุมชนบ้านเป๊าะ หมู่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของบทสู่ขวัญ และเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อจากบทสู่ขวัญ พื้นที่ที่ทำการเก็บข้อมูลคือ ชุมชนบ้านเป๊าะ หมู่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยศึกษาเนื้อหาของบทสู่ขวัญจากข้อมูลที่สืบถอดทางมุขปาฐะ และข้อมูลเอกสารภาษาล้านนา ข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ บทสู่ขวัญที่ใช้สำหรับบุคคล 1. บทสู่ขวัญ (เพื่อรักษาคนเจ็บและเพื่อเป็นสิริมงคล) 2. บทสู่ขวัญลูกแก้ว 3. บทสู่ขวัญบ่าวสาว ในการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้บันทึกข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์และนำเอกสารหรือบทสู่ขวัญนำมาเพื่อวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
รูปแบบของบทสู่ขวัญของชุมชนบ้านเป๊าะ หมู่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยแยกออกเป็น 1. รูปแบบของการประพันธ์ 2. ลักษณะการใช้ภาษา
โครงสร้างโดยรวมของบทสู่ขวัญที่ใช้สำหรับบุคคล ของชุมชนบ้านเป๊าะ หมู่ 5 ทั้ง 3 สำนวนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ บทขึ้นต้นหรืออารัมภบท บทบรรยายเครื่องบายสี บทเชิญขวัญ บทปัดเคราะห์และบทผูกขวัญ
ความเชื่อที่ปรากฏในบทสู่ขวัญที่ใช้สำหรับบุคคลทั้ง 3 สำนวน สามารถวิเคราะห์ความเชื่อออกมาได้ 4 ความเชื่อได้แก่ ความเชื่อเรื่องขวัญ ความเชื่อเรื่องอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเรื่องมงคลและอัปมงคล และความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2520). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู. โรงพิมพ์คุรุสภา.
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2530). ของดีอีสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.