เครื่องดนตรีในประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยง บ้านสันม่วง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วารี เกษมวิจิตรกุล
ตุลาภรณ์ แสนปรน

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในประเพณีชนเผ่ากะเหรี่ยง บ้านสันม่วง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาลงพื้นที่ภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักปราชญ์ด้านดนตรีที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งหมด 4 คน ขอบเขตในการเลือกศึกษาเครื่องดนตรีในประเพณีทั้งหมด 4 ประเพณี ได้แก่  ประเพณีปีใหม่ ประเพณีแรกนาขวัญ ประเพณีแต่งงาน และประเพณีงานศพ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเพณีประจำ และประเพณีชีวิต


ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยงมีทั้งหมด 4 ความเชื่อ ประกอบด้วย ความเชื่อการเกิดและการตาย ความเชื่อเกี่ยวกับการพยากรณ์ ความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงาน และความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีปีใหม่ ความเชื่อเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านหมู่บ้านสันม่วง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างมากอีกทั้งยังเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2520). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู. โรงพิมพ์คุรุสภา.

วิสุดา เจียมเจิม. (2554). ดนตรีของชาวกะเหรี่ยงบ้านป่าละอูป ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ (๒๕๑๘). ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. กรุงเทพ : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ

สุกรี เจริญสุข .(2534). เครื่องดนตรีที่สำคัญที่ใช้ พิธีกรรมและความบันเทิงของภาคใต้. รายงานการสัมมนา ทางวิชาการ เรื่องพัฒนาการทางวัฒนธรรม : กรณีทักษิณ. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวิชา พัฒนาไพรวัลย์ (2554). เราคือเตหน่ากู. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศูนย์พัฒนาชีวิตและสังคม บ้านเซเวียร์ เชียงใหม่ : ลานนามีเดียแอนด์โปรดักชั่น