ผลกระทบของคำสาปที่มีต่อรูปแบบโครงเรื่องในนวนิยายเรื่อง “ก็อบลิน”

Main Article Content

ชไมพร คงอินทร์
ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ
ทัตพิชา สกุลสืบ

บทคัดย่อ

นวนิยายเรื่อง ก็อบลิน นำคำสาปมาใช้เป็นปมปัญหาของเรื่อง โดยพระเอกซึ่งเป็นโทแกบีจะต้องตามหาเจ้าสาวของเขาเพื่อแก้คำสาปและหลุดพ้นจากความโดดเดี่ยวของการเป็นอมตะ แต่เมื่อโทแกบีได้พบกับเธอแล้วกลับไม่อยากจากไปเพราะความรักที่เกิดขึ้นผูกพันคนทั้งสองไว้ บทความนี้มุ่งวิเคราะห์ผลกระทบของคำสาปที่มีต่อโครงเรื่องตามทฤษฎีของกุสตาฟ ไฟร์ทากซึ่งมี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ช่วงเปิดเรื่อง 2) จุดเร่งเร้า 3) การผูกปม 4) วิกฤต 5) จุดสุดยอด 6) การแก้ปม 7) เข้าสู่ภาวะสมดุล ผลการวิเคราะห์พบว่า ในช่วงเปิดเรื่องคำสาปของพระเจ้าทำให้พระเอกกลายเป็นโทแกบีที่ต้องติดตามหารักแท้เพื่อถอนคำสาป ต่อมาในจุดเร่งเร้า พระเอกพบกับนางเอกแล้วแต่กลับไม่แน่ใจว่าเธอเป็นเจ้าสาวตัวจริง การผูกปมของเรื่อง คือ นางเอกถอนคำสาปให้พระเอกไม่สำเร็จ ในขั้นวิกฤต ทั้งสองยังคงพบหน้ากันจนเกิดความรักขึ้น ต่อมาในขั้นจุดสุดยอด พระเอกถอนคำสาปได้สำเร็จ แต่นางเอกถูกลบความทรงจำ ต่อมาในขั้นการแก้ปมปัญหาคือ นางเอกฟื้นความทรงจำและได้แต่งงานกับพระเอก ขั้นสุดท้ายคือ การเข้าสู่ภาวะสมดุล นางเอกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ กลับมาเกิดใหม่จนได้ครองรักกันอีกครั้ง  จากผลข้างต้นจะเห็นว่าคำสาปเป็นปมปัญหาสำคัญของเรื่องที่ทำให้ตัวละครแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ในขั้นแรกจนถึงขั้นที่ 5 ขณะเดียวกัน ความรักและการลืมเลือนถือเป็นตัวแปรสำคัญต่อความสำเร็จในการถอนคำสาปของตัวละครเอกทั้งสองด้วย  

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์. (2559). โครงสร้างของโครงเรื่อง, 30 กันยายน 2563. http://www.elfar.ssru.ac.th/nataporn_ra/pluginfile.php/41/block_html/content/เอกสารประกอบวิชาการเขียนสร้างสรรค์_โครงสร้างของโครงเรื่อง.pdf

บุปผาหิมะ (ผู้แปล). (2560). ก็อบลิน เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์บุ๊ค.

ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล, วรวรรธน์ ศรียาภัย, บุญยงค์ เกศเทศ, และพรสวรรค์ สุวรรณธาดา. (2559). คำสาปแช่งในวรรณคดีไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(3), 229-244.

Chey, A. (2019). Learning Freytag’s Pyramid: 5 Cool Examples of How to Use It in Marketing, Retrieved February 11, 2021, from https://www.clearvoice.com/blog/what-is-freytags-pyramid-dramatic-structure/

Francis. (2019). Excavating Freytag's Pyramid: Narrative, identity and the museum visitor experience, from: https://discovery.ucl.ac.uk/id/eprint/10118292/

Harun, A. Razak, M.R.A., Nasir, M.N.F.M., & Ali, A. (2013). Freytag's Pyramid: An Approach for Analyzing the Dramatic Elements and Narrative Structure in Filem Negara Malaysia's First Animated Cartoon, Retrieved February 11, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/301293373

Mohsen, A. (2019). A Study of Tragedy in Tchaikovsky’ s Romeo and Juliet, Overture-Fantasia Based on Freytag’ s Pyramid, from https://www.sid.ir/en/Journal/ViewPaper.aspx?ID=696194

Queenberry and Coolsen. (2019). Drama Goes Viral: Effects of Story Development on Shares and Views of Online AdvertisingVideos, from https://www.semanticscholar.org/paper/Drama-Goes-Viral%3A-Effects-of-Story-Development-on-Quesenberry-Coolsen/

Rolfe, Jones, and Wallace. (2010). Designing Dramatic Play: Story and Game Structure, from https://www.scienceopen.com/hosted-document doi=10.14236/ewic/HCI2010.54