เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร: ตำนานและบทบาทที่มีต่อชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานการค้นคว้าอิสระเรื่อง “เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร: ตำนานและบทบาทที่มีต่อชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานและบทบาทเจ้าหลวงหมื่นด้งนครที่มีต่อชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
ผลการศึกษาเรื่อง “เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร: ตำนานและบทบาทที่มีต่อชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่” พบว่า ตำนานเจ้าหลวงหมื่นด้งนครอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ชาวบ้านจะจดจำเรื่องเล่า และความเก่งกล้าสามารถของวีรบุรุษ เป็นบุคคลที่มีความสามารถเหนือผู้อื่น และวีรกรรมการรบอันยิ่งใหญ่ของ เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ตำนานวีรบุรุษเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร มีตำนานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และชาติพันธุ์ เจ้าหลวงหมื่นด้งนครมีบทบาทต่อชาวบ้านชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดยมีบทบาทหน้าที่ในฐานะวีรบุรุษของชุมชน ในด้านการสู้รบ และเป็นแม่ทัพเอกผู้นำทหารกล้าปกป้องบ้านเมือง และป้องกันศัตรู มีบทบาทในฐานะผู้มีบุญคุณต่อชุมชนในการตั้งเมืองหน้าด่านขึ้นมา ทำให้ชาวบ้านได้อยู่อาศัยจนถึงในปัจจุบัน รวมไปถึงการมีบทบาทในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นเทพหรือผีอารักษ์คอยปกปักรักษา คุ้มครอง และยังเป็นยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านชุมชนบ้านป่าสัก ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในเรื่องการบนบานสานกล่าว การแก้บน และการขอพรเพื่อความสบายใจ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
โฉมฉาย กาศโอสถ. (2548). ตามรอยบาท…เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร. เอกสารอ้างอิงหลักสูตรท้องถิ่น
โฉมฉาย กาศโอสถ. (2556). สืบตำนานท้องถิ่น “เวียงด้งนคร. เอกสารอ้างอิงหลักสูตรท้องถิ่น
ธิดารัตน์ ผมงาม. (2557). การดำรงอยู่ของเรื่องเล่าวีรบุรุษหนานทิพย์ช้างในจังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มารศรี สอทิพย์. (2551). เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช: กลวิธีการเล่าเรื่องกับการสร้างภาพลักษณ์. (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชบัณทิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2554: (2556: 1127). กรุงเทพฯ
รุ่งทิวา ตาคำ. สัมภาษณ์, 18 กันยายน 2563
ศรีสุดา ใจอินยศ. ครู. สัมภาษณ์, 19 กันยายน 2563
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน - นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมบัติ ชมพู. ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์, 14 กันยายน 2563
William R. Bascom. (1965). Four Function of Folklore. The Study of Folklore. Ed. Alan Dundes (Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1965), pp.279 – 298