ประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สิริกานต์ องคสิงห
ตุลาภรณ์ แสนปรน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (2) เพื่อศึกษาคุณค่าของประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน นั้นพบองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ 1) ผู้ประกอบพิธีกรรม 2) ผู้เข้าร่วมพิธีกรรม 3) เครื่องประกอบพิธีกรรม 4) สถานที่และวันเวลาในการประกอบพิธีกรรมสถานที่ในการประกอบพิธีกรรม 5) ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ประเพณีการตานธรรมหลวงเป็นประเพณีที่ทำให้เกิดคุณค่าที่ปรากฏให้เห็นหลายด้าน คือ 1) คุณค่าทางวัฒนธรรม 2) คุณค่าทางสังคม 3) คุณค่าทางเศรษฐกิจ 4) คุณค่าทางพระพุทธศาสนา ประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน เป็นการส่งเสริมหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสนับสนุนให้คนในชุมชนได้นำหลักคำสอน พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2526). มหาชาติล้านนา : การศึกษาในฐานที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น(รายงานการวิจัย). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิเภก เมืองหลวง. (2554). งานบุญแปดหมื่นสี่พันพระขันธ์ : สัญลักษณ์ในพิธีกรรมประดิษฐ์จากคัมภีร์ใบลาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มณี พยอมยงค์. (2553 ). ประเพณีสิบสอนเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์