อุดมการณ์การเป็นลูกที่ดีในนวนิยายของจุฬามณี

Main Article Content

อัครวินท์ ทบด้าน
สุภาวดี เพชรเกตุ
ชญานิน บุญส่งศักดิ์

บทคัดย่อ

นวนิยายเรื่อง สุดแค้นแสนรัก ทุ่งเสน่หา และกรงกรรม ของ จุฬามณี เป็นนวนิยายที่นำเสนอภาพพฤติกรรมของแม่ที่มีพฤติกรรมเชิงลบแต่ลูกทุกคนกลับรักและเชื่อฟังคำสั่งของแม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้วิจัยใคร่ทราบถึงลักษณะและปัจจัยของอุดมการณ์การเป็นลูกที่ดี  จึงจัดทำวิจัยเล่มนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุดมการณ์การเป็นลูกที่ดี   จากผลการวิจัยพบว่าอุดมการณ์การเป็นลูกที่ดีนั้นมีอยู่ 2 อุดมการณ์ คือ 1) ลูกที่ดีต้องมีความกตัญญู    ซึ่งหมายถึง การรู้คุณหรือสำนึกในพระคุณของบุพการี โดยในที่นี้คือต้องเคารพและนอบน้อมต่อบุพการี และ 2) ลูกที่ดีต้องมีความกตเวที หมายถึง การตอบแทนพระคุณของบุพการีผ่านการกระทำที่เป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การบวชเรียน การเชื่อฟังและทำตามคำสั่งสอนของบุพการี  การแบ่งเบาภาระของบุพการี การดูแลเลี้ยงดูบุพการี และการสืบทอดและรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุดมการณ์ทั้งหมด 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านฉาก ประกอบด้วย  การใช้บริบททางสังคมยุค 2500 – 2520  และการสร้างวาทกรรมครอบงำความคิด และ2) ด้านตัวละคร ประกอบด้วย การสร้างภูมิหลังและการสร้างนิสัยของตัวละครแม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เทพทอง. (2557). อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ. สยามปริทัศน์.

จณิษฐ์ เฟื่องฟู. (2560). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 014371 วรรณกรรมวิจารณ์. (ม.ป.ท.).

จามะรี เชียงทอง. (2560). สังคมชนบทในโลกสมัยใหม่. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จามะรี เชียงทอง. (2562). ชนบทศึกษาในสังคมวิทยาความรู้. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

จุฬามณี. (2558). ทุ่งเสน่หา. อรุณ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จุฬามณี. (2560). กรงกรรม. แสงดาว.

จุฬามณี. (2563). สุดแค้นแสนรัก. พิมพ์ครั้งที่ 3. แสงดาว.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภัทร อารีศิริ. (2554). การวิเคราะห์อุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ไทยที่นำมาผลิตซ้ำ. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นิพนธ์ เที่ยงธรรม. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/นิพนธ์_เที่ยงธรรม

ปริศนา กาญจนกันทร และสุพรรณี ไชยอำพร. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยยุคโลกาภิวัตน์. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2), 164-175.

พรรณี บัวเล็ก. (2549). โครงการ: ระบบกงสี: กำเนิดและวิถีชีวิตของชนชั้นแรงงานรับจ้างในประเทศไทยในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 19. [รายงานการวิจัย]. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระมหาทวี วิสารโท. (2560). การบวชเป็นศาสนทายาทในพุทธศาสนาแบบเถรวาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(1), 15-26.

พระมหาทศพล จนฺทวํโส และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). การบวชในสมัยอยุธยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(5), 2537-2552.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.

ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2559). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(29), 110-143.

วิดาภา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2560). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเป็นผู้ใหญ่ – ความเป็นเด็กในหนังสือชุด “เมื่อคุณตาคุณยายยังเป็นเด็ก”. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(2), 104-126.

ศิริลักษณ์ พันธ์สิทธิ์. (2564). อุดมการณ์ทางสังคมในกวีนิพนธ์ที่ได้รับรางวัลระหว่างปี พ.ศ. 2561- 2560. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (18)2. 89-102.

สนิท สมัครการ. (2519). มีเงินก็นับว่าน้อง มีทองก็นับว่าพี่ ระบบครอบครัวและเครือญาติของไทย. บรรณกิจเทรดดิ้ง.

สนิท สมัครการ. (2555). สถาบันครอบครัว เครือญาติ และระบบอุปถัมภ์. ใน คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาสังคมไทย. (บ.ก.), เอกสารการสอนวิชาสังคมไทย. (น. 225-266). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ. (2522). ค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการสำรวจวัด. [รายงานการวิจัย]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุจิตรา แก้วสีนวล และคณะ. (2563). อุดมการณ์ความเป็น “เด็ก” ที่สะท้อนผ่านการเรียนการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(2), 31-47.

อัลภา เมืองศรี. (2561). การเสริมสร้างความสุขของเยาวชนจากครอบครัว: ภาพสะท้อนจากนวนิยาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1), 255-270.

อำนาจ สงวนกลาง. (2564). การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวทีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, 7(1), 102-130.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2548). นวนิยายนิทัศน์. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.