การวิเคราะห์กระบวนทัศน์และภาพแทน “พหุวัฒนธรรม” ในหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย (พ.ศ. 2503-2560)

Main Article Content

วสันต์ สรรพสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนทัศน์พหุวัฒนธรรมในหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2503 - 2560 และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์ภาพแทนพหุวัฒนธรรมในหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2503 - 2560 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 – 2560 จำนวนรวม 14 ฉบับ โดยใช้แบบวิเคราะห์กระบวนทัศน์และภาพแทนพหุวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของ Steinberg และ Kincheloe (2001) และ Banks (2016) ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนทัศน์พหุวัฒนธรรมของหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 2 กระบวนทัศน์หลัก คือ กระบวนทัศน์ความมั่นคงแห่งรัฐ ปรากฏในหลักสูตรช่วง พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2533 และกระบวนทัศน์การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปรากฏในหลังสูตรช่วง พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2560 2) ภาพแทนพหุวัฒนธรรมปรากฏในหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียงลำดับความถี่จากมากไปน้อย ได้แก่ เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ ร้อยละ 51.91 ศาสนาและความเชื่อ ร้อยละ 31.56 เพศสภาวะ ร้อยละ 7.47 สัญชาติ ร้อยละ 6.40 ความพิเศษ/ความพิการร้อยละ 1.51 และชนชั้นทางสังคม ร้อยละ 1.16 ทั้งนี้กระบวนทัศน์และภาพแทนพหุวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานยังคงมีเป้าหมายเพื่อความเป็นเอกภาพและความมั่นคงของรัฐมากกว่าสร้างความตระหนักรู้ต่อสิทธิ ความเสมอภาคและเท่าเทียมของผู้คนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2503). หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2503. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2503ก). หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2503. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2503ข). หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2503. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2518). หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2520). หลักสูตรประโยคประถมศึกษา หมวดวิชาสังคมศึกษา พ.ศ. 2520. กรุงเทพฯ: หจก.จงเจริญการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2520ก). หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2520ข). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2523). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2532ก). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 (ปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2550). พัฒนาการการจัดการศึกษาของรัฐในชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์ (2551). ภาพตัวแทนคนจนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.

ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2561). โรงเรียนหลากวัฒนธรรม : นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล นิ่มนวล. (2559). การเมืองในแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2551. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง), คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2556). สถานะการโต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(1), 6-30.

ศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2551). สังคมศาสตร์การศึกษา . กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

สุวิธิดา จรุงเกียรติสกุล. (2554). อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย ภูมิระรื่น. (2557). หนังสือเรียนสังคมศึกษา ภาพสะท้อนความต้องการของรัฐ พ.ศ. 2503 - พ.ศ.2555. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Banks, J. A., & Banks, C. A. M. (Eds.). (2016). Multicultural education: Issues and perspectives (9th ed.). John Wiley & Sons.

McLaran, P. (1998). Life in schools: introduction to critical pedagogy in the foundations of education (3th ed.). New York: Longman.

Steinberg, S. R. and Kincheloe, J. L. (2001). Setting the Context for Critical Multi/Interculturalism: The Power Blocs of Class Elitism, White Supremacy, and Patriarchy, in Steinberg, S. R. (ed.) Multi/Intercultural Conversations: A Reader, New York: Peter Lang, 3–30.