วาทกรรมเชิงวิพากษ์ : กรณีศึกษาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

กมลลฎา นาคแทน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์อิศราช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2565 ผ่านวัจนภาษาในโครงสร้างประโยค โดยเน้นวิเคราะห์การปรากฏของตำแหน่งประธาน และผ่านอวัจนภาษาโดยเน้นวิเคราะห์ภาพข่าวและอาศัยการตีความและอธิบายความที่เชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่ามีการใช้ภาษา เพื่อสื่อถึงความรุนแรงสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ การเป็นประธานของประโยค การละประธาน และการใช้ภาษาภาพ การเป็นประธานของประโยคแสดงให้เห็นความพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยนำเสนอว่าเจ้าหน้าที่รัฐคือวีรบุรุษ ส่วนผู้ก่อการร้ายสื่อใช้คำเพื่อเรียกขบวนการ ก่อการร้ายโดยตรง และการใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพเหมารวม (Stereotypes) เช่น โจรใต้ เหยื่อของผู้ก่อการร้ายมักเป็นบุคคลต่างศาสนาเช่นชาวไทยพุทธ สิ่งนี้แสดงให้เห็นความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างขบวนการก่อการร้ายและศาสนาอื่นในพื้นที่ซึ่งฝังรากหยั่งลึกมายาวนานจนยากที่จะแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2557). โครงการวิจัยกลวิธีทางภาษาที่แสดงถึงความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทยผ่านหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นภาคใต้และระดับชาติ. สงขลา: ภาควิชาสารัตถศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ไชยวัฒน์ สถาอานันท์. (2557). ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ปณิธาน วัฒนายากร. (2550). บทบาทและอิทธิพลของมหาอำนาจในไทย: เชื่อมโยงกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน ยุติไฟใต้, สุริชัย หวันแก้ว, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2554). การเขียนข่าวเบื้องต้น. พิมพ์ครังที่2. กรุงเทพมหานคร: อินทะนิล.

สมชาย ศรีสันต์. (2557). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา / หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.

Fairclough, N. (1989). Language and Power. Taylor & Francis.

Lewis Fry Richardson. (1960). Arms and Insecurity: A Mathematical Study of the Causes and. Origins of War. Pittsburgh, PA: Boxwood.

Roland Barthes. (1972). Mythologies. Farrar, Straus and Giroux.