อัตลักษณ์และสุนทรียภาพของหน้ากากผีบุ้งเต้าที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวบ้านไฮตาก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมการใช้หน้ากากผีบุ้งเต้า บ้านไฮตาก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาอัตลักษณ์และสุนทรียภาพที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว บ้านไฮตาก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในการศึกษาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตและการสนทนากลุ่ม ใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน คัดเลือกจากปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มเยาวชน นักวิชาการศิลปะ นักพัฒนาชุมชน และนักวิชาการท่องเที่ยว จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบวัฒนธรรมการใช้หน้ากากผีบุ้งเต้า มี 3 รูปแบบคือ (1) รูปแบบหน้ากากที่นำไปประดับหัวธุงถือร่วมกับขบวนแห่งานประเพณี และการนำไปติดตั้ง 4 ทิศของซุ้มมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธรูป (2) รูปแบบหน้ากาก แบบสวมใส่เข้าร่วมขบวนแห่งานประเพณี และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวสวมใส่ และ (3) รูปแบบหน้ากากของที่ระลึก ให้นักท่องเที่ยวซื้อกลับไปเป็นของฝาก และ 2) อัตลักษณ์หน้ากากผีบุ้งเต้า คือยักษ์ใจดีมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาชุมชนและศาสนา ส่วนสุนทรียภาพหน้ากากผีบุ้งเต้าเป็นรู้สึกจากการรับรู้เชิงเนื้อหาที่เป็นเรื่องการแก้ปัญหาผลผลิตและมีการเชื่อมโยงสู่ประเพณีชุมชนและการท่องเที่ยว ส่วนเชิงรูปแบบของผีบุ้งเต้านั้นเป็นผลรวมจากทัศนธาตุและหลักการทางทัศนศิลป์ที่นำมาประกอบกันเป็นภาพยักษ์อย่างประสานสัมพันธ์กันและความลงตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กฤตยภรณ์ ตันติเศรษฐ์. (2557). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 3(1), 137-150.
กษิรา ภิวงศ์กูร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และภรดี พันธุภากร. (2562). การศึกษาลวดลายชาติพันธุ์ชนเผ่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกหมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร. วารสารมังรายสาร. 7(2), 123-140.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชานนท์ ไชยทองดี. (2562). เรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 14(1), 72-89.
ณงค์ณุช นทีพายัพทิศ. (2557). อัตลักษณ์ผ้าทอกะเหรี่ยงประปาเกอะยอ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(1), 113-121.
ไทยโรจน์ พวงมณี และสุภาวดี สำราญ. (2562). ผีปุ้งเต้า : พัฒนาการจากความเชื่อท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านไฮตาก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 5, 76-94.
ไทยโรจน์ พวงมณี. (2559). การศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่นสู่การเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 11(36), 22-33.
ไทยโรจน์ พวงมณี. (2561). การศึกษาอัตลักษณทางศิลปะและวัฒนธรรมทองถิ่นในเขตพื้นที่การท่องเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยสูการออกแบบสร้างสรรคผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ. 2(1), 93-112.
ธนวรรธน์ นิธิปภานันท์. (2558). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว: ศึกษากรณีเพลินวาน อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นิธิวดี ทองป้อง. (2558). แนวทางการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์บนทางระบายน้ำเสียสาธารณะโดยวิธีการบ้าบัดน้ำเสียวิถีธรรมชาติด้วยระบบพืชพันธุ์อย่างมีสุนทรียภาพทางทัศนาการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1), 1402-1418.
ปริตตา เฉลิมเผา กออนันตกูล. (2545). อัตลักษณ์ซ้อนของนักมนุษยวิทยาในบ้านเกิด. คนใน : ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ. (2560). อัตลักษณ์แห่งภูกามยาว : รูปลักษณ์ ความเชื่อ และภูมิปัญญา. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3), 2775-2792.
พรรษรัตน์ เจริญรัตน์ และศิริเพ็ญ ดาบเหล็ก. (2563). ความหมายและอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร : มุมมองของนักท่องเที่ยว. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 15(2). 125-147.
พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน, พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป และภัทรเดช ปัณชยาธนาดุล. (2561). การตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณของจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(2), 231-238.
ภานุ สรวยสุวรรณ. (2555). การวิเคราะห์สุนทรียภาพในพระพุทธรูปสุโขทัยด้วยหลักการทางทัศนศิลป์. Veridian E-Journal, SU กลุ่มศิลปะและการออกแบบ. 5(1), 22-44.
รักยม (นามแฝง). (2560). พระพุทธรูปนาวาบรรพต ศรัทธาสุดหนาวที่ภูเรือ, 7 สิงหาคม 2565. https://www.thairath.co.th/horoscope/interesting/1116684
สิริกานต์ องคสิงห และตุลาภรณ์ แสนปรน. (2564). ประเพณีการตานธรรมหลวงของชาวไทลื้อ บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารมังรายสาร. 9(2), 39-49.
สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2565). อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ในพหุวัฒนธรรมและการสื่อสาร. วารสารศาสตร์. 15(1), 198-228.
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (2561). เที่ยววิถีชาวบ้านผีบุ้งเต้า เป็นผีแนวใหม่ ผสมผสานงานประเพณีดั้งเดิม, 15 กันยายน 2565, https://www.banmuang.co.th/news/region/131331
องค์การบริหารส่วนตำบลลาดค่าง. (2565). จุดชมวิวไฮตากแลนด์, 15 กันยายน 2565. https://ladkang.go.th/public/list/data/detail/id/2143/menu/1619