กลวิธีการสื่อความหมายในการนำเสนอชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2022
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่อชุดและกลวิธีการใช้ข้อความอธิบายแนวคิดของชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2022 จำนวน 77 ชุด โดยการรวบรวมข้อมูลชื่อชุดพร้อมข้อความอธิบายแนวคิดของชุดประจำชาติ (ชุดประจำจังหวัด) จากเพจเฟซบุ๊ก Miss Grand Thailand เพื่อนำมาวิเคราะห์กลวิธีการสื่อความหมายในการนำเสนอชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2022
ผลการวิจัยพบว่ามีกลวิธีในการตั้งชื่อชุดที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น 10 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามผู้ที่มีบทบาทสำคัญ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสถานที่ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสิ่งของ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามพืช กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามประเพณี พิธีกรรม หรือเทศกาล กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสัตว์กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามตำนาน ประวัติศาสตร์ หรือความเป็นมาของท้องถิ่น กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามอาหารพื้นถิ่น กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามกีฬาหรือการละเล่น และกลวิธีการตั้งชื่อชุดตามศิลปะการแสดง นอกจากนี้ พบว่ากลวิธีการใช้ข้อความอธิบายแนวคิดในการเปิดเรื่องมี 4 กลวิธี ได้แก่ เริ่มด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียน เริ่มด้วยบทนำโดยใช้เรื่องประกอบ เริ่มด้วยคำพูดของบุคคลสำคัญ และเริ่มด้วยการให้คำจำกัดความ ส่วนกลวิธีการใช้ข้อความอธิบายแนวคิดในการดำเนินเรื่องมี 3 กลวิธี ได้แก่ เป็นความเข้าใจที่นำเสนออยู่ในขอบข่ายของชื่อเรื่อง เป็นข้อเท็จจริงที่มีการลำดับเนื้อหากันอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยง และเป็นเหตุผลที่สนับสนุนกัน และกลวิธีการใช้ข้อความอธิบายแนวคิดในการปิดเรื่องมี 3 กลวิธี ได้แก่ เขียนบทสรุปแบบย้ำให้เห็นประเด็นสำคัญ เขียนบทสรุปแบบสอดคล้องกับบทนำ และเขียนบทสรุปแบบให้ข้อคิดกับผู้อ่าน โดยกลวิธีการใช้ภาษาในการนำเสนอชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2022 นั้นมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ ความคิด และวิถีชีวิตความเป็นท้องถิ่นของทั้ง 77 จังหวัดได้เป็นอย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา นาคสกุล และคณะ. (2561). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 5 : กระบวนการคิดและการเขียนร้อยแก้ว. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ปฏิวัติ นามทองใบ และปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2564). ศิราภรณ์ : เครื่องประดับศีรษะในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(1) 21-37.
ภาคภูมิ หรรนภา. (2554). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: อินทนิล.
สมิทธ์ชาต์ พุมมา. (2563). การนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นจากการประกวดชุดประกวดชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2018. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
โสภาพรรณ วิรุฬหมาศ. (2561). การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, 16 สิงหาคม 2561 ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
Miss Grand Thailand. (2022). Retrieved November 25, 2022, from Album: VOTE Top50 "Best National Costume"-MGT'22 Website: https://shorturl.asia/f62oO