คำบริภาษของผู้พูดภาษาไทยถิ่นพะเยา: การศึกษาด้านความหมายและโลกทัศน์

Main Article Content

เอื้อมพร ทิพย์เดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและโลกทัศน์ของคำบริภาษของผู้พูดภาษาไทยถิ่นพะเยา โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทยถิ่นพะเยาที่อาศัยอยู่ใน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่า ด้านความหมายของคำบริภาษของผู้พูดภาษาไทยถิ่นพะเยา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คำบริภาษความหมายตรง และคำบริภาษความหมายเปรียบเทียบ คำบริภาษความหมายตรง แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ คำบริภาษเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ คำบริภาษเกี่ยวกับพฤติกรรม และคำบริภาษเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ส่วนคำบริภาษความหมายเปรียบเทียบ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ คำบริภาษเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ คำบริภาษเกี่ยวกับพฤติกรรม และคำบริภาษเกี่ยวกับความรู้ความสามารถส่วนด้านโลกทัศน์ พบโลกทัศน์ทั้งหมด 5 โลกทัศน์ ได้แก่ โลกทัศน์เรื่องพ่อแม่และบรรพบุรุษ โลกทัศน์ด้านสติปัญญา โลกทัศน์เรื่องเพศ โลกทัศน์เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับผีและความตาย และโลกทัศน์เรื่องการประกอบอาชีพและการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวดี ศรลัมพ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชาระบบความหมาย (ภ.603). สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพวัลย์ เหมรา และสุวัฒนาเลี่ยมประวัติ. (2563). ถ้อยคำบริภาษของผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน: ความหมายของถ้อยคำ. Veridian E-Journal 12, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์). หน้า 793-810

รังสิมา รุ่งเรือง. (2560). ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์

วิไล ธรรมวาจา. (2545). มหาชาติกัณฑ์ชูชก ฉบับเมืองชลบุรี: การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้าน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรทัย ชินอัครพงศ์. (2557). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคำด่าในภาษาไทย. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2522). สมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ. อักษรศาสตร์ 11, 2(กรกฎาคม). หน้า 20-32.

Allan, Keith and Burridge. (2006). Forbidden Words: Taboo and the Censoring of language. New York: Cambridge University Press.

Lakoff, G. and M. Johnson. (1980). Metaphors We Live By. Chicago and London. The University of Chicago Press.