พิธีส่อนขวัญ: พิธีกรรมแห่งความเชื่อของชาวชุมชนหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เอื้อมพร ทิพย์เดช
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์
สุริยะกาล ทองเหลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของพิธีส่อนขวัญในชุมชนหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของพิธีส่อนขวัญที่ส่งผลต่อคนในชุมชนหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา โดยการปฏิบัติงานภาคสนามในพื้นที่วิจัยจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยม แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า พิธีส่อนขวัญที่ชาวชุมชนหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จัดขึ้นเป็นพิธีกรรมที่มีองค์ประกอบและขั้นตอนการประกอบพิธีตามโครงสร้างที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทั้งในขั้นตอนก่อนการประกอบพิธี ขณะประกอบพิธี และหลังการประกอบพิธี โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีส่วนสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติตามความเชื่อของคนในชุมชน ซึ่งพิธีส่อนขวัญดังกล่าวนี้ ล้วนมีบทบาทหน้าที่ต่อการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนหนองแวงทั้งในระดับตัวบุคคลและระดับชุมชน อันเป็นคุณูปการต่อชาวชุมชนหนองแวงที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คงอมร เหมรัตน์รักษ์. (2559). ความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผี: กรณีศึกษา ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2543). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.

จรรยา เรียนไธสง. (2545). ความคิดเห็น ความเชื่อและค่านิยมต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานของวัยทำงานและวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ปริญญา ธัญทะพิพงศ์. (2551). รูปทรงแห่งพิธีกรรมทำขวัญ. วิทยานิพนธ์ ศป.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาสารคาม.

ปรีดี นุชิต. (2549). พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมเลี้ยงบ้านศาลหลักเมืองพระวอพระตา อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2555). การสู่ขวัญ: พิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. งานวิจัย, มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

ภคนิตย์ เพชรปาณีวงศ์. (2545). ขวัญ: มิติทางจริยธรรมของสังคมไทย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 20(1), 30-40.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์ พริ้นท์.

วิทยา ภูครองหิน. (2553). พิธีสู่ขวัญ: การอนุรักษ์และสืบสานพิธีกรรมจรรโลงใจของคนในสังคมอีสาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนิท สมัครการ. (2538). วิธีการศึกษาสังคมมนุษย์กับตัวแบบสำหรับศึกษาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น, (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุศาสน์ ป้องศิริ. (2548). บทบาทหมอสู่ขวัญ: กรณีศึกษาอำเภอปากชม จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, เลย.

อุดม พลเสน. (2547). ศึกษาการสู่ขวัญของหมอสูตรบ้านติ้วสันติสุข ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ., สถาบันราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อุมาภรณ์ วงศ์วิสิฐศักดิ์. (2547). ประเพณีและพิธีกรรมของชาวคลอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, นครปฐม.