การพัฒนาแบบเรียนภาษาจีนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครูในโรงเรียนจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์
จงรักษ์ มณีวรรณ์
จิรปรียา โชควรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบเรียนภาษาจีนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในจังหวัดเชียงราย และเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบเรียนภาษาจีนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเพื่อร่วมกันพัฒนาเนื้อหาแบบเรียนภาษาจีน คือ ครูผู้สอนภาษาจีนของแต่ละโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โรงเรียนละ 1 คน ทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนเทศบาล 1 (ป่าก่อดำ) 2. โรงเรียนอนุบาลพญาเม็งราย 3. โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) 4. โรงเรียนอนุบาลเชียงของ 5. โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านเก่า 6. โรงเรียนปูแกง (อินทราราษฎร์อุปถัมภ์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาประสิทธิภาพแบบเรียนภาษาจีน คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ป่าก่อดำ) อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย จำนวน 93 คน


การพัฒนาแบบเรียนภาษาจีนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับครูผู้สอนภาษาจีนมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ 2. การออกแบบ 3. การประเมินและพัฒนา 4. การนำไปทดลองใช้ 5. การสรุปผลและแก้ไข ผลการประเมินคุณภาพของแบบเรียนจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า การพัฒนาแบบเรียนภาษาจีนทั้ง 3 ระดับชั้น มีคะแนนคุณภาพค่าเฉลี่ยรวมด้านเนื้อหา ภาษาที่ใช้ และองค์ประกอบของแบบเรียนอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมตามลำดับ คือ 4.09, 4.33 และ 4.49 ผลการหาประสิทธิภาพของแบบเรียนภาษาจีนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้ผลประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามลำดับชั้น คือ 81.04/83.67, 81.38/84.50 และ 85.17/86.33

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสกสค.

จิรฐา ชิตประสงค์. (2538). การหาประสิทธิภาพแบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2545). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ฉวีวรรณ สุทธิปาริชาติ. (2548). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2554). เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปราณี ปราบริปู ปรัชญา ใจภักดี พรทิพย์ รักชาติ และจงกล เก็ตมะยูร. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 346-359.

ยุวดี พ่วงรอด เสาวลักษณ์ ลิ้มศิริวงศ์ ศุภสิทธิ์ ต๊ะนา และรสสุคนธ์ ประดิษฐ์. (2564). รูปแบบการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนกรณีศึกษา ชุมชนบ้านคลองเตย ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 502-516.

วัชราภรณ์ จูฑะรงค์. (2560). หนังสือเรียนภาษาจีนกับการพัฒนาทักษะภาษาจีนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 1-16.

สัญญา ยือราน ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สายสมร ศักดิ์คำดวง, สุพจน์ ประไพเพชร, สุดสวาสดิ์ ประไพเพชร, วสันต์ แสงเหลา และไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2561). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : แนวทางการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 4(3), 36-50.