“หลวง”: การศึกษาเชิงประวัติ หน้าที่และความหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงประวัติของคำว่า “หลวง” เพื่อศึกษาด้านอักษร อักขรวิธี ของคำว่า “หลวง” และศึกษาหมวดคำ หน้าที่ ความหมายคำว่า “หลวง” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 5) โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎีด้านวากยสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวิจัยตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 5) โดยช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1835 – 2468 ซึ่งการศึกษาใช้วิธีการเลือกเอกสารตัวแทนในแต่ละสมัยที่เป็นบทร้อยแก้ว
ผลการวิจัยพบ ด้านมิติอักษรและอักขรวิธี “หลวง” ปรากฏพบใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในด้านวิวัฒนาการของคำว่า “หลวง” เมื่อแยกส่วนตามพยัญชนะต้น สระ และพยัญชนะสะกด พบว่า คำว่า “หลวง” มีการเปลี่ยนแปลงด้านพยัญชนะต้นและสระไม่มากนัก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านพยัญชนะตัวสะกด ง ด้านการลากเส้นหยักเป็นเส้นโค้งมากขึ้น ด้านอักขรวิธี สระจะเขียนติดกับพยัญชนะต้น ส่วนพยัญชนะสะกดวางอยู่ข้างหลังสระ โดยจะเขียนตัวสะกดห่างจากสระเล็กน้อยเพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด สำหรับการประกอบรูปคำของคำว่า “หลวง” พบว่า เป็นคำพยางค์เดียวแบบ (พพสสน4)
การสร้างคำว่า หลวง สมัยสุโขทัย พบการสร้างคำประสม 3 วิธีคือ 1) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] 2) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [ประสม] และ 3) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำประสม] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] สมัยอยุธยา พบการสร้างคำ 2 วิธีคือ 1) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] และ 2) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำประสม] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว]
หน้าที่ของคำว่า “หลวง” ในประโยค พบคำว่า “หลวง” ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญของประโยค ได้แก่ เป็น หน่วยประธาน หน่วยกรรมตรง หน่วยกรรมรอง หน่วยกรรมตามหลังบุพบท และส่วนขยายของประโยค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (2537). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
กรองกานต์ รอดพันธ์. (2555). ถึง: การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
กำธร สถิรกุล. (2527). ลายสือไทย 700 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คุรุสภา
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2530). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ อ.ม., มหาวิทยาศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
เบ็ญจมาศ บางอ้น. (2529). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ อ.ม., มหาวิทยาศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ปิ่นกาญจน์ วัชรปาณ. (2548). อยาก : การศึกษาเชิงประวัติ.วิทยานิพนธ์. อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2546). การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ลินดา วิชาดากุล. (2528). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ อ.ม., มหาวิทยาศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
วาสนา แสงสิทธิ์. (2554). เอกการประกอบการสอนรายวิชาอักษรและเอกสารโบราณท้องถิ่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเชียงราย.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์และคณะ. (2552). บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). “ยัง”การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2555). พัฒนาการของคำว่า “เป็น” ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2560). ห้องสมุดดิจิทัลเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2560, จาก http://dl.kids-d.org/handle/123456789/25
อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2550). วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.