ประเภทของพจนานุกรมภาษาล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพจนานุกรมภาษาล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านประเภทของพจนานุกรมภาษาล้านนา เก็บข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาล้านนา จำนวน 13 ฉบับ และใช้แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาและแนวคิดเกี่ยวกับการทำพจนานุกรม ผลการวิเคราะห์ พบว่า สามารถจำแนกประเภทของพจนานุกรมได้ 2 ประเภท ได้แก่ พจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนา และพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย โดยพจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนา ปรากฏ 2 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 13.33 มีลักษณะเป็นพจนานุกรมที่มีคำตั้งเป็นคำภาษาไทยแล้วแสดงคำอธิบายหรือความหมายเป็นข้อความภาษาล้านนา ซึ่งปรากฏในรูปของการใช้อักษรไทยกลางบันทึกคำอ่าน ทั้งนี้ พจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนาจะปรากฏเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย ส่วนพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย ปรากฏ 13 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีลักษณะเป็นพจนานุกรมที่มีคำตั้งเป็นคำภาษาล้านนาแล้วแสดงคำอธิบายหรือความหมายเป็นข้อความภาษาไทย ซึ่งสามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 2 ประเภท ได้แก่ พจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยประเภทที่ใช้อักษรไทยกลางบันทึกคำอ่านของคำตั้ง ปรากฏจำนวน 5 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 38.46 และพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยประเภทที่ใช้อักษรธรรมล้านนา บันทึกคำตั้ง ปรากฏจำนวน 8 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 61.54 พจนานุกรมประเภทย่อยทั้ง 2 ประเภท มีองค์ประกอบพื้นฐานที่แสดงไว้เหมือนกันทุกฉบับคือ คำตั้งและคำนิยามความหมาย ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ จะแสดงหรือไม่ก็ได้ การทำพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยในช่วงแรกเริ่มได้รับการจัดทำขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่ไม่ได้ใช้ภาษาล้านนาเป็นภาษาแม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ ยังเพื่อใช้แนวทางสำหรับการเรียนรู้ หรือการค้นหาความหมายคำศัพท์ภาษาล้านนา และเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาล้านนาอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชชาธิการ กระทรวงธรรมการ. (2474). อภิธานภาษาพื้นเมือง มณฑลพายัพ. พระนคร: โรงพิมพ์กรมวิชชาธิการ กระทรวงธรรมการ.
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2557). ศัพทานุกรมภาษาโบราณที่พบในจารึกล้านนา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.
จ.จ.ส. (2499). พจนานุกรมภาษาภาคเหนือ. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
จำเนียร จวงตระกูล และนวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. PAAT Journal, 2(2). 1-14.
ธีระพันธ์ ล.ทองคำ. (2534). การทำพจนานุกรมไทย-ไทย: อดีต-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2389-2533) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนติมา พัฒนากุล. 2549. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
บุญคิด วัชรศาสตร์. (2538). คนเมือง อู้กำเมือง. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2544). บทที่ 6 พจนานุกรมและการใช้. ใน การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน (น.137-151). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2517). วิเคราะห์พจนานุกรมไทย. วารสารรามคำแหง. 1(2), 30-64.
พรพิลาส เรืองโชติวิทย์. (2533). การทำพจนานุกรม. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง). (2561). พจนานุกรมภาษาล้านนา-ไทย ปริวรรต (อักษร ก ถึง อักษร ฮ) ฉบับรวมเล่ม. เชียงราย: สยามการพิมพ์.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิวเถระ). (2517). หลักภาษาไทยพายัพ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิวเถระ) ณ เมรุวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ 19 มกราคม 2517.
มาลา คำจันทร์, ยุทธการ ขันชัย, และศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. (2551). พจนานุกรมคำเมือง ฉบับนักเรียนเยาวชน และผู้สนใจทั่วไป. เชียงใหม่: แชทโฟร์ พริ้นติ้ง.
เมธ รัตนประสิทธิ์. (2508). พจนานุกรมไทยยวน-ไทย-อังกฤษ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วันชัย พลเมืองดี. (2560). พจนานุกรมล้านนา-ไทย. เชียงใหม่: ซี เอ็ม กราฟิก กรุ๊ป.
วิไลวรรณ เข้มขัน และขนิษฐา ใจมโน. (2563). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคำศัพท์โบราณจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2493 – ปี พ.ศ. 2554. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 5(1), 163-176.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏเชียงใหม่. (2539). พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคเหนือ. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สุรีรัตน์ บำรุงสุข. (2550). พจนานุกรมไทย-ไทย เก่าที่สุด: พจนานุกรมของ เจ. คัสแวล และ เจ. เอช. แซนด์เลอร์. วารสารมนุษยศาสตร์. 14(2). 13-24.
สุวารีย์ วงศ์วัฒนา. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ, 7 เมษายน 2566. http://elearning.psru.ac.th/courses/181/7.4%20การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.pdf
อนุชิต อินตาวงค์ และศราวุธ หล่อดี. (2560). โลกทัศน์ของชาวล้านนาจากคำนามล้านนาที่ปรากฏในพจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 5(2). 22-41.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และคณะ. (2539). พจนานุกรมศัพท์ล้านนาเฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์
อินทิรา นนทชัย. (2563). การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree Journal of Social Science ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2561 (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
อุทุมพร จามรมาน. (2529). การวิเคราะห์เนื้อเรื่อง. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 1(2), 5-15.