การศึกษาการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถานภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นิรัตน์ ทองขาว
สมยศ จันทร์บุญ
สุริยา กีรตินันทิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อเสนอแนวทางการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่างที่ปรากฏในแผนที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ฉบับภาษาจีนแล้วนำมาวิเคราะห์ภายใต้เกณฑ์การแปลแบบถอดเสียงของ Pei Xiaorui (2018) ผลวิจัยพบว่า จากข้อมูลชื่อโบราณสถานจำนวน 78 แห่ง ใช้กลวิธีการถอดเสียงมากที่สุดจำนวน 40 แห่ง ร้อยละ 51.28 หลังจากนั้นนำเฉพาะรายชื่อที่ใช้กลวิธีการถอดเสียงมาวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ปัญหาในการเลือกพยางค์เสียงในภาษาจีนที่ต่างจากพยางค์เสียงในภาษาไทยพบมากที่สุด 40% สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการแปลแบบถอดเสียงนั้น ควรพิจารณาเลือกพยางค์เสียงเป็นอันดับแรก แล้วจึงพิจารณาความหมายของคำประกอบว่าเป็นคำที่มีความหมายดี หรือเป็นความหมายที่สื่อถึง ลักษณะเด่นของสถานที่นั้น และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงอ่านหลายเสียง หลีกเลี่ยงการใช้ ตัวอักษรจีนที่เป็นคำกริยา และคำสรรพนาม ควรเลือกพยางค์เสียงในภาษาจีนที่มีจำนวนเท่ากับพยางค์เสียงในภาษาไทย และหากคำที่แปลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเฉพาะไปแล้วให้แปลโดยใช้การถอดเสียงแทน นอกจากนี้ก่อนลงมือแปลผู้แปลควรศึกษาข้อมูล ประวัติ ลักษณะเด่น และวัฒนธรรมแฝงของสถานที่ ที่ต้องการแปลด้วย เมื่อแปลเสร็จควรได้รับการตรวจทานจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและภาษาจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรวรรณ พรหมแย้ม. (2565). การศึกษาการแปลชื่อถนนภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 15(2), 36-73.

ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ. (2562). หลักการแปลไทย-จีน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

กันย์สินี จตุพรพิมล. (2557). การแปลชื่อสถานที่ท่องเที่ยวภาษาไทยเป็นภาษาจีน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 226-244.

พิศาล แก้วอยู่, ประกอบศิริ ภักดีพินิจ, และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระในพื้นที่อารยธรรมล้านนา ประเทศไทย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(3), 102-112.

เพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท, และมนันญา ศรีหิรัญ. (2562). ชื่อสถานที่ท่องเที่ยวลำปาง: กลวิธีและข้อผิดพลาดที่พบในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 22-41.

ภูเทพ ประภากร. (2565). การศึกษาการแปลชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่สามบุรี (ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี) เป็นภาษาจีน. วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา, 44(1), 64-77.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2561). กลวิธีการใช้อักษรจีนในคำทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทย: รูปแบบการถ่ายเสียงพยางค์และการกำกับเสียงด้วยอักษรจีน. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 36(ฉบับพิเศษ), 101-126.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2559, 21 เมษายน). ตะลุย Applications มือถือยอดนิยมในเมืองจีน. https://thaibizchina.com

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่. (2561, 6 มีนาคม). จำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว. https://chiangmai.mots.go.th/more_news.php?cid=49

สุพรรษา โต๊ะดอนทอง, และจิราพร เนตรสมบัติผล. (2562). กลวิธีการแปลชื่อสถานที่ท่องเที่ยวภาษาไทยในภาษาจีน: กรณีศึกษาหนังสือ《畅游泰国》. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(2), 342-358.

อภิญญา จอมพิจิตร. (2565). การศึกษากลวิธีการแปลชื่อสถานที่ท่องเที่ยวไทยเป็นภาษาจีน. วารสารจีนวิทยา, 17(1), 56-80.

Pei X.R., Bo W.Z., Jin Y. & Xiong R. (2018). Tai-Hanyu Yinyi Guifan Yanjiu. World Book Publishing Guangdong Co., Ltd.

Tongyong Guifan Hanzi Biao. (2018). Language & Culture Press.