การตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี จากแอปพลิเคชัน Viu หมวดซีรีส์พากย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2565 พบชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี จำนวน 161 ชื่อ
ผลการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 15 กลวิธี โดยพบการใช้โวหารภาพพจน์มากที่สุด รองลงมาพบการใช้คำคล้องจอง การใช้ คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ การใช้คำนำหน้าชื่อและชื่อคน การใช้คำสแลง และคำภาษาปาก การใช้คำบอกตำแหน่งและคำบอกอาชีพ การใช้คำซ้ำ คำซ้อน และคำที่สร้างขึ้นใหม่ การใช้คำธรรมดาเข้าใจง่าย การใช้คำรุนแรง การใช้ตัวเลข คำบอกจำนวนนับ และคำบอกเวลา การใช้คำสรรพนาม การใช้คำบอกสถานที่ การใช้คำลงท้าย การใช้คำแสดงคำถาม และการใช้คำเชื่อมเพื่อให้เกิดความตรงกันข้าม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตั้งชื่อเรื่อง 1 ชื่อสามารถใช้กลวิธีทางภาษาได้ตั้งแต่ 1 ถึง 6 กลวิธีด้วยกัน ซึ่งจากงานวิจัยนี้พบว่ามีการตั้งชื่อแบบใช้ 2 กลวิธีมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้เพียง 1 กลวิธี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กฤตพร แซ่อึ้ง. (2562). นโยบาย Soft power กับการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ ค.ศ.1997-ปัจจุบัน. บทความวิจัย หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
กัลยา เต็มศักดิ์. (2563). กลวิธีการตั้งชื่อละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นภาษาไทย. บทความวิจัย หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
กาญจนา นาคสกุล. (2559). ระบบเสียงภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2544). การใช้ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิน ฮี ยู, (2552). การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีและการใช้้ภาษาในการตั้งชื่อละครโทรทัศน์และภาพยนตร์เกาหลี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ชลอ รอดลอย. (2551). การเขียนสารคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชวนะ ภวกานันท์. (2530). บทบาทของสารโฆษณาที่มีต่อภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุติมา บุญอยู่. (2549). วิเคราะห์โครงสร้างภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยในช่วง 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2545). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
ธีรารัตน์ บุญกองแสน. (2543). การศึกษาการตั้งชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์อเมริกัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล. (2562). โวหารภาพพจน์ในนวนิยายเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน. วิวิธวรรณสาร, 3(1), 123-142.
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2518). การเขียนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ปริศนา ฟองศรัณย์. (2550). การใช้ภาษาไทยในการตั้งชื่อภาพยนตร์จีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ปานฉาย ฐานธรรม. (บรรณาธิการ). (2547). สื่อสารด้วยการเขียน : เขียนให้เป็น เขียนให้ถูก. กรุงเทพฯ: ทิพอักษรการพิมพ์.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2556). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
พระอธิการอานนท์ อตฺถยุตฺโต สมศักดิ์ และกฤษณ์ ทองเลิศ. (2563). โวหารภาพพจน์เพื่อการสื่อสารธรรมของสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(2), 7-25.
มาลี บุญศิริพันธ์. (2536). การเขียนสารคดีสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์. (2549). เส้นทางสู่ความยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์เกาหลีใต้. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 17(1), 2-5.
วชิรนที วงศ์ศิริอำนวย. (2542). การเขียนบทความ. เชียงใหม่: บี.เอส.การพิมพ์.
วนิดา บำรุงไทย. (2545). สารคดี : กลวิธีการเขียนและแนววิจารณ์. กรุงเทพฯ: สุริยสาส์น.
สมเกียรติ รักษ์มณี. (2538). โวหารภาพพจน์ในบทเพลงของ ธงไชย แมคอินไตย์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 3(1), 55-63.
สมพร มันตะสูตร. (2525). การเขียนสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บารมีการพิมพ์.
สิรดา เตจ๊ะสา. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับชมละครเกาหลีทางโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. ปัญหาพิเศษ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
สิริวรรณ นันทจันทูล. (2549). ภาษาไทยในสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุจริต เพียรชอบ. (2539). หนังสือชุดความรู้ภาษาไทย ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2540). การเขียนสำหรับเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
แสงสุรีย์ ทัศนพูนชัย. (2549). เยาวชนไทยได้อะไรจากเกาหลีฟีเวอร์. For Quality of Life. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส.เอเซียเพรส จำกัด.
Joseph S. Nye, Jr. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs.