กลวิธีความไม่สุภาพในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส

Main Article Content

นันทพร ศรจิตติ
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีความไม่สุภาพในการใช้ภาษาของผู้สัมภาษณ์และ ผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนาที่มีทรรศนะแตกต่างกันในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์บุคคลจากรายการโหนกระแสและรายการต่างคนต่างคิด ระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 – เดือนมิถุนายน 2562 ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีความไม่สุภาพที่ปรากฏใช้มี 2 กลวิธีหลัก


กลวิธีที่หนึ่ง คือ การถาม จำแนกเป็น 1.การถามในเชิงดูถูกเพื่อยั่วยุอารมณ์ 2.การถามแย้ง 3.การถามชี้นำคำตอบ 4.การถามด้วยถ้อยคำบ่งชี้เรื่องเพศและกามารมณ์ 5.การถามรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง 6.การถามในลักษณะใส่ความหรือตัดสินชี้ขาด ส่วนกลวิธีที่สอง คือ กลวิธีอื่น ๆ จำแนกเป็น 1.กลวิธีการกล่าวเตือน 2.กลวิธีการแสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ 3.กลวิธีการผรุสวาท การสบถโดยใช้คำต้องห้ามการใช้คำสแลงที่บ่งชี้ถึงคำหรือเรื่องต้องห้าม ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่ากลวิธีความไม่สุภาพทั้ง 2 กลวิธีหลักดังกล่าวปรากฏในรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแสทั้งในการใช้ภาษาของผู้สัมภาษณ์หรือผู้ดำเนินรายการ และในการใช้ภาษาของผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนาที่มีทรรศนะแตกต่างกัน นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่าการใช้ภาษาระหว่างผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนา 2 ฝ่ายนั้นจะปรากฏกลวิธีความไม่สุภาพหลากหลายกลวิธีกว่าการใช้ภาษาที่ผู้สัมภาษณ์หรือผู้ดำเนินรายการใช้สนทนากับผู้ร่วมรายการอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แจ๋วริมจอ. (2562). ของเค้าดีจริง. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2562, จาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1622985

ประไพพรรณ พึ่งฉิม. (2542). กลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์สองประเภท. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ และ วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2561). กลวิธีความไม่สุภาพในรายการเดอะเฟซไทยแลนด์. Journal of the Faculty of Arts, 40(2). หน้า 177-201.

อรวี บุนนาค. (2559). กลวิธีความไม่สุภาพในการสัมภาษณ์บุคคลในกระแสของพิธีกรช่องโทรทัศน์ทางเลือกใหม่. วารสารช่อพะยอม, 27(2). หน้า 13-24.

AmarinTV. (2557). ต่างคนต่างคิด. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2562, จาก https://www.facebook.com/tangkhontangkhit/

Ch3thailand. (2560). โหนกระแส. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2562, จาก https://www.facebook.com/HKS2017/