การศึกษานามวลีแปลง “การ-” และ “ความ-” ในทำเนียบภาษางานวิชาการ ภาษาการรายงานข่าว และภาษาการเขียนวิจารณ์

Main Article Content

นพวรรณ เมืองแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาโครงสร้างและความซับซ้อนรวมทั้งวัตถุประสงค์ในการใช้นามวลีแปลง “การ-” และ “ความ-” ในทำเนียบภาษา 3 ประเภท งานวิจัยนี้วิเคราะห์โดยใช้กรอบแนวคิดโครงสร้างและความซับซ้อนของนามวลีแปลงในภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลคำว่า “การ-” และ “ความ-” จากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ โดยเลือกกลุ่มข้อมูลจากทำเนียบภาษา 3 ประเภท ได้แก่ 1) ภาษางานวิชาการ 2 ) ภาษาการรายงานข่าว และ 3) ภาษาการเขียนวิจารณ์ เก็บข้อมูลประเภทละ 200 ตัวอย่าง จำนวน 2 คำ รวมเป็น 1,200 ตัวอย่าง ผลการวิจัยจากข้อมูลโครงสร้างนามวลีแปลง “การ-” และ “ความ-” พบรูปแบบโครงสร้างที่หลากหลาย แบ่งลักษณะโครงสร้างออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) โครงสร้างแบบพื้นฐาน 2) โครงสร้างที่เริ่มมีความซับซ้อน และ 3) โครงสร้างที่มีความซับซ้อนมาก ในส่วนการวิเคราะห์ด้านวัตถุประสงค์ของการใช้นามวลีแปลง “การ-” และ “ความ-” ในทำเนียบภาษา 3 ประเภท พบการใช้นามวลีแปลงทั้งสองคำนี้ในวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อทำให้เป็นนามธรรม ลดความเป็นปัจเจก เปลี่ยนให้เป็นความหมายทั่วไป 2) เพื่อซ่อนเร้นผู้กระทำในเหตุการณ์ที่อ้างถึง และ 3) เพื่อสร้างมโนทัศน์ที่เน้นไปยังการรวมเอาองค์ความรู้หรือทฤษฎีต่าง ๆ มากล่าวถึงอย่างเป็นทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธารทอง แจ่มไพบูลย์ และวิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2559). ความซับซ้อนของนามวลีแปลงดัชนีบ่งชี้ความยากง่ายของตัวบท: กรณีศึกษาหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3. วารสารมนุษยศาสตร์, 23(2), 148-177.

นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา วิชัยรัตน์, สุมมา เขียนนิล และวิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการ 5 ขั้น (Five – Steps Process) เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิจารณ์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิวิธวรรณสาร, 5(2), 283-301.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2561). ความเข้าใจภาษาข่าว การจำเนื้อหาในข่าวอาชญากรรมและข่าวการศึกษาของผู้รับสาร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 86-102.

ภีมพสิษฐ์ เตชะราชันย์. (2558). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของตัวบ่งชี้นามวลีแปลง การ และ ความ ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2537). ลักษณะภาษาไทยที่ใช้ผ่านสื่อมวลชนโทรทัศน์: รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2537). กำเนิดและพัฒนาการของการแปลงให้เป็นนานมวลีในภาษาไทย : หลักฐานแสดงการปรับเปลี่ยนให้เป็นนามวลีในภาษาไทย. รายงานการวิจัย สถาบันไทยศึกษา ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.