การศึกษาคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนแคะในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

Main Article Content

นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง องค์ประกอบทางความหมายของคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีน และวัฒนธรรมการบริโภคที่สะท้อนผ่านคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนของชาวไทย เชื้อสายจีนแคะในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบทางความหมาย ของคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนที่ประยุกต์ตามแนวทางการศึกษาของ ชนกพร อังศุวิริยะ (2555, 2557) และวิเคราะห์วัฒนธรรมการบริโภคที่สะท้อนผ่านคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงคือชาวไทยเชื้อสายจีนแคะในอำเภอเบตง จำนวน 6 คน รวมถึงข้อมูลจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีน จำนวน 368 คำ โดยการหาค่าร้อยละและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงสร้างของคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีน ด้านพยางค์พบจำนวน 5 พยางค์มากที่สุด ด้านการสร้างคำพบคำประสมที่เป็นรูปแบบประธาน-ภาคแสดงมากที่สุด และด้านโครงสร้าง พบกลุ่มวัตถุดิบของอาหารมากที่สุด (2) องค์ประกอบทางความหมายในมิติอาหารจีนพบอรรถลักษณ์ [ไทยจีน] มากที่สุด มิติวิธีการประกอบอาหาร จำนวน 15 อรรถลักษณ์ พบอรรถลักษณ์วิธีการประกอบอาหาร [ผัด] มากที่สุด และมิติวัตถุดิบของอาหาร จำนวน 21 อรรถลักษณ์ พบอรรถลักษณ์ [หมู] มากที่สุด (3) วัฒนธรรมการบริโภคพบว่าคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนกำหนดจากเนื้อสัตว์เป็นหลัก มีความยืดหยุ่น ในการใช้คำโดยให้ความสำคัญกับคำในตำแหน่งแรกที่ปรากฏ มีความเป็นอยู่เรียบง่ายจากการบริโภคสัตว์ และพืชผักที่มีในท้องถิ่น เน้นอาหารที่ปรุงสุกโดยใช้ความร้อน รสไม่จัด นอกจากนี้ ยังพบคำเรียกชื่ออาหารภาษาจีนที่สะท้อนความเป็นมงคลและเลี่ยงใช้คำที่ไม่รื่นหู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2562). การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 139-151.

โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). การศึกษาคำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2555). การศึกษาชื่ออาหารในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2557). การวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกชื่ออาหารภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(1), 17-30.

นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร และมิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2564). คำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นกลาง: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 4(2), 51-66.

นันทนา วงษ์ไทย. (2559). การศึกษาชื่อน้ำพริกใน 4 ภาค: ภาพสะท้อนความเป็นอยู่และวัฒนธรรมไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(16), 88-100.

พลศรี คชาชีวะ และยศพิชา คชาชีวะ. (2553). อาหารจีนยอดนิยม. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้านทันสมัย.

รัตนา จันทร์เทาว์ และเชิดชัย อุดมพันธ์. (2560). ชื่ออาหารท้องถิ่นอีสานและภาคใต้: มุมมองด้านอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 9(1), 63-89.

วีระพันธ์ ไชยคีรี. (2542). เบตง: ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน. กรุงเทพฯ: ปรับโฟกัส.

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ และอัญชลี สิงห์น้อย. (2552). คำเรียกรสของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือตอนล่าง: กรณีศึกษาในแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กัณฑิมา รักวงษ์วาน, มนสิการ เฮงสุวรรณ, และสิริวิมล ศุกรศร. (2555). บุคคลสำคัญและความคิดหลักในอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์: การเข้าถึงวัฒนธรรมโดยผ่านภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภิสรา พลนรัตน์ และไกรสิทธิ์ จามรจันทร์สาขา. (2562). การตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงราย. วารสารมังรายสาร. 7(1), 13-26.

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2562). การจำแนกทางความหมายของชื่อผักพื้นบ้านในภาษาไทลื้อ. วารสารจีนศึกษา, 12(1), 91-112.

Li, G. Y. (2565). ความหมายและค่านิยมของคำรื่นหูในภาษาจ้วงถิ่นรั่ว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Chen, J. B. (2001). Study on Chinese Dishes Naming. Cuisine Journal of Yangzhou University, 28(3), 13-17.