โครงสร้างของคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอ

Main Article Content

อนาวิล โอภาประกาสิต
ภคภต เทียมทัน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอ เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมค่าวซอ ฉบับร้านประเทืองวิทยา พ.ศ. 2511 จำนวน 10 เรื่อง โดยใช้แนวคิดภาษาวรรณคดีและแนวคิดการวิเคราะห์ส่วนประชิดในการวิเคราะห์โครงสร้างและจำแนกประเภทของคำเรียกผู้ชาย ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอ มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหลักและส่วนขยาย โดยส่วนหลักมีองค์ประกอบสำคัญคือ คำหลัก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ต้องปรากฏในโครงสร้างของคำเรียกผู้ชายเสมอ ส่วนส่วนขยายนั้น มีองค์ประกอบสำคัญ คือ คำขยายประกอบหน้า และคำขยายประกอบหลัง ซึ่งทำหน้าที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเพศ สถานภาพ ยศและศักดิ์ของตัวละครผู้ชาย ทั้งนี้ ส่วนขยายจะปรากฏในโครงสร้างของคำเรียกผู้ชายหรือไม่ก็ได้ เมื่อพิจารณาคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอจำนวน 10 เรื่องแล้ว ปรากฏคำหลักจำนวน 306 คำ จากการปรากฏของคำเรียกผู้ชายจำนวน 1,727 ตำแหน่ง สามารถจำแนกโครงสร้างของคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอได้ 4 โครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างแบบส่วนหลักปรากฏจำนวน 458 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 26.52 โครงสร้างแบบส่วนหลัก ส่วนหลักปรากฏจำนวน 231 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 13.38 โครงสร้างแบบส่วนหลัก ส่วนขยายปรากฏจำนวน 71 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 4.11 และโครงสร้างแบบส่วนขยาย ส่วนหลักปรากฏจำนวน 967 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 55.99 โครงสร้างของคำเรียกผู้ชายที่แตกต่างกันและสามารถจำแนก ได้หลายโครงสร้างดังกล่าวแสดงให้ทราบถึงกลวิธีในการสร้างคำเรียกผู้ชายในวรรณกรรมค่าวซอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2541). นวนิยายและเรื่องสั้น: การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.

ธัชชัย กรกุม. (2554). รูปอ้างถึงพระพุทธเจ้าในวรรณกรรมพุทธประวัติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทีป วาทิกทินกร. (2542). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). ค่าวซอเรื่อง สุวรรณหอยสังข์ (จากธรรมค่าวชาดกพื้นเมือง). เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). ค่าวซอเรื่อง หงส์หิน. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). ค่าวซอเรื่องธรรม ชิวหาลิ้นคำ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). ค่าวซอเรื่องธรรม อ้ายร้อยขอด. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอจากธรรมชาดกเรื่อง ช้างโพงนางผมหอม. เชียงใหม่: บริษัทคนเมืองเหนือ จำกัด.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอเรื่อง นกกระจาบ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอเรื่องธรรม จั๋นต๊ะฆา. เชียงใหม่: บริษัทคนเมืองเหนือ จำกัด.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอเรื่องธรรม บัวระวงศ์หงส์อำมาตย์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอเรื่องธรรม วรรณาพราหม. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ร้านประเทืองวิทยา.

ประเทือง เภาวัฒนาสุข. (2511). หนังสือค่าวซอเรื่องธรรมเรื่อง เจ้าสุวัตร์. เชียงใหม่: บริษัทคนเมืองเหนือ จำกัด.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2523). ภาษากวี การวิจักษ์และการวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.

ปริศนา พิมดี. (2547). คำเรียกผู้หญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภคภต เทียมทัน. (2556). คำเรียกผู้หญิงในวรรณกรรมกลอนสวด (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัคพล คำหน้อย. (2561). ภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2550). การวิเคราะห์ประโยคในภาษาไทย. สารภาษาไทยและวัฒนธรรม 43, 1(1), 42-57.

ลมูล จันทน์หอม. (2538). วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตรัสวิน.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2545). ภาษาวรรณคดี. วิทยารัตนากร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นเตอร์แอนด์พลับลิซซิ่ง.

เศรษฐ พลอินทร์. (2524). ลักษณะคำประพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. (2539). พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคเหนือ. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

สุพัตรา มาลัย. (2564). คำเรียกผู้หญิงในบทเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสน่หา บุญยรัตน์. (2519). วรรณกรรมค่าวของภาคเหนือ. เชียงใหม่: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2535). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.