พหุวัฒนธรรมทางศาสนา: ความเป็นผี-พราหมณ์-พุทธ ที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน

Main Article Content

ธนพล สกลสุนทรเทพา สุดายงค์
ณัฐกฤตา นามมนตรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพหุวัฒนธรรมทางศาสนาที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 เล่ม โดยศึกษาเฉพาะเนื้อหาที่เป็นบทร้อยกรอง ด้วยกรอบแนวคิดพหุวัฒนธรรมทางศาสนา ผลการศึกษาพบสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องผี (ความเชื่อดั้งเดิม) ความเป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และความเป็นพระพุทธศาสนา โดยความเชื่อเรื่องผี (ความเชื่อดั้งเดิม) ประกอบไปด้วย ภูต ผี ปีศาจ ความเชื่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติทั้งดีและร้าย มิ่ง-ขวัญ และเครื่องรางของขลัง ความเป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประกอบด้วย พระผู้เป็นเจ้าและเทพ สาวก หลักคำสอนและความเชื่อ พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ ส่วนความเป็นพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย ศาสดา พระสาวก หลักธรรมคำสอนและความเชื่อ ศาสนพิธี ศาสนสถานและศาสนวัตถุ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2551). ชีวประวัติของเสภาขุนช้างขุนแผน. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, 29(10), 154-161.

ชมรมธรรมธารา. (2556). กลียุค บาลีวันละคำ. 25 กันยายน 2567. https://dhamtara.com/?p=2087.

ฐิติมดี อาพัทธานนท์. (2556). เนื้อหาความเป็นพหุวัฒนธรรมในแบบเรียนไทย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 9(1), 114.

ปริยาภัทร เพ็ชรจรูญ. (2564). วิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพลเมืองเด็กที่ปรากฏในบทร้อยกรอง จากหนังสือวันเด็กแห่งชาติ (พ.ศ. 2508 – 2562). วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพมหานคร: นามมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระมหาธวัช เขมธโช (พุทธโส). (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการเทศน์มหาชาติที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ. (2557). ขัดเกลาความคิด. ปทุมธานี: โรงพิมพ์ รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ลำพอง กลมกูล. (2561). พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีนและมลายู: กรณีศึกษาประเทศบรูไน. วารสารโพธิวิจัย, 2(2), 84.

วิโรจ นาคชาตรี. (2550). ปรัชญาว่าด้วยความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2531). สากลศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สันติ เล็กสกุล. (2562). แบบของ “คนดี” ในแบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารปณิธาน, 15(2), 363-390.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แบบเรียนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.