เวียงเจ็ดลิน: การพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมด้วยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

Main Article Content

ธิตินัดดา จินาจันทร์
สันต์ สุวัจฉราภินันท์
วรงค์ วงศ์ลังกา
ฐิตาภัทร์ โสมจำรูญ
บัณฑิต ยศมีบุญ
วราพล สุริยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เวียงเจ็ดลินและทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ และหาแนวทางพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เวียงเจ็ดลินเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่สังคมโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คนที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การจดบันทึก และการบันทึกภาพเป็นเครื่องมือวิจัย ผลการศึกษาพบว่า เวียงเจ็ดลินเป็นเวียงโบราณที่มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร ประวัติศาสตร์ของเวียงเจ็ดลินปรากฏอยู่ 2 ยุค คือยุคตำนานและยุคประวัติศาสตร์ ในปัจจุบันนี้ พื้นที่เวียงเจ็ดลินถูกแบ่งแยกและครอบครองโดยหน่วยงานต่างๆ 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสวนรุกขชาติห้วยแก้ว ทุนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏหลงเหลือในพื้นที่ทั้ง 3 นั้นประกอบด้วย 1) ตาน้ำศักดิ์สิทธิ์ 2) หลักฐานทางโบราณคดี เช่น คูน้ำคันดิน กำแพงเมือง และ 3) พืชพรรณและระบบนิเวศ


คณะนักวิจัยได้นำเอาทุนทางวัฒนธรรมดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่สังคมวงกว้าง  สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พื้นที่ด้วยวิธีการออกแบบและการใช้เส้นเรื่องเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1) การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เวียงเจ็ดลิน 2) การออกแบบศาลาตาน้ำเวียงเจ็ดลินเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ และ 3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้ ของที่ระลึก เพื่อจำหน่ายในร้านจำหน่ายสินค้าของสำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ ทั้งนี้ การดำเนินการวิจัยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวียงเจ็ดลิน เช่น สำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อที่จะร่วมขับเคลื่อนให้ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. (2537). เอกสารประกอบการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร หลักสูตรความรู้ทางด้านอาหารสัตว์. กรุงเทพฯ: กองปศุสัตว์สัมพันธ์.

กรมศิลปากร. (2552). พระธาตุเจ้าดอยตุง: บันทึกว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา. กรุงเทพฯ: ถาวรกิจการพิมพ์.

กรมอุทยานแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช.

ณัฐชา ลี้ปัญญาพร. (2563). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งในมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อระยกดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดนัย เรียบสกุล. (2023). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย. วารสารวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2(3), 58-95.

พระยาประชากิจกรจักร. (2557). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.

วรงค์ วงศ์ลังกา. (2566). การศึกษาพืชพรรณที่ปรากฏในภูมินามหมู่บ้านใมนจังหวัดเชียงใหม่. Journal of Environmental Design. 10(2), 91-113.

ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. (2563). เวียงเจ็ดลิน. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2543). ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สหัทยา สิทธิวิเศษ และคณะ. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วารสารมังรายสาร. 7(1), 117-128.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. (2547). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุคส์.

อิสรา กันแตง. (2558). เวียงเจ็ดลิน: เมืองโบราณสัณฐานกลม. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม วารสารวิชาการ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 29, 87-104.

Bell, S. (2012). Landscape: pattern, perception and process: Routledge.

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

คุณศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้