“วิญญาณที่ถูกเนรเทศ”: การโหยหาอดีตและความทรงจำในวรรณกรรม ของวิมล ไทรนิ่มนวล

Main Article Content

รัตนาวดี ปาแปง
ปฐมพงษ์ สุขเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีตและความทรงจำ และศึกษาลักษณะของตัวละครที่อยู่ในสภาวะการโหยหาอดีตในวรรณกรรมเรื่องวิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของวิมล ไทรนิ่มนวล โดยใช้แนวคิดการโหยหาอดีตและความทรงจำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นักเขียนใช้กลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีตและความทรงจำ ซึ่งจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) จากการโหยหาผ่านช่วงเวลา/ฤดูกาล 2) การโหยหาผ่านสถานที่/พื้นที่ 3) การโหยหาผ่านธรรมชาติ และ 4) การโหยหาผ่านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม โดยการสร้างความทรงจำในอดีตนั้น เพื่อเติมเต็มความสุขให้ตัวละครในฐานะปัจเจกบุคคลที่ต้องดำเนินชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ส่วนลักษณะของตัวละครที่เป็นผู้โหยหาอดีตถูกนำเสนอผ่านการผลิตซ้ำความทุกข์ทรมานจากความแปลกแยกกับสภาพสังคมที่ไม่คุ้นชิน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากกระแสการพัฒนา จำแนกได้ 6 ประเภท ได้แก่ 1) การจากถิ่นฐานบ้านเกิด 2) ความรู้สึกแปลกแยกกับสังคมใหม่ 3) การโหยหาอดีตในสังคมที่จากมา 4) การกลับคืนถิ่นฐานบ้านเกิด 5) ความรู้สึกแปลกแยกกับสังคมบ้านเกิดที่เปลี่ยนแปลง และ 6) การโหยหาอดีตก่อนที่จะเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2558). มาตุคามสำนึกและการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. วารสารมนุษยศาสตร์, 22(2), 64-91.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

วิมล ไทรนิ่มนวล. (2552). วิญญาณที่ถูกเนรเทศ. กรุงเทพฯ : สามัญชน.

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. (2548). หมุนโลกย้อน (นอสทัลเจีย) ในเมืองใหญ่ในวงเล็บ. กรุงเทพฯ : แพรว.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2550). ความซับซ้อนของการเล่าเรื่อง: ลักษณะหลังสมัยใหม่ในบันเทิงคดีร่วมสมัยของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลนภา อินพลอย. (2551). การถวิลหาอดีตในวรรณกรรมของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.