การยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทใหญ่ 3 ระดับอายุ ได้แก่ ผู้พูดภาษาไทใหญ่ที่มีอายุ 20 - 25 ปี จำนวน 5 คน ผู้พูดภาษาไทใหญ่ ที่มีอายุ 40 - 45 ปี จำนวน 5 คน และผู้พูดภาษาไทใหญ่ที่มีอายุ 60 - 65 ปี จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 15 คน ทั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือคือตารางชุดคำศัพท์และการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลคำศัพท์ที่ผู้บอกภาษาใช้ในชีวิตประจำวัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะใช้คำศัพท์ภาษาไทใหญ่ในการสื่อสารแล้ว ยังยืมคำศัพท์จากภาษาไทยเหนือและภาษาไทยมาตรฐานมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย สำหรับการยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในพื้นที่นี้ แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การยืมแบบทับศัพท์ การยืมแบบปนภาษา และการยืม แบบผสม ซึ่งปรากฏทั้งในคำมูล คำผสาน และคำผสม ลักษณะการยืมคำศัพท์เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการสัมผัสภาษาอันเป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ในกลุ่มผู้พูดภาษาไทใหญ่ทั้ง 3 ระดับอายุ ทั้งนี้การวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในสังคมไทย รวมถึงยังอาจเป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทใหญ่ที่จะวางนโยบายในการอนุรักษ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนไว้ให้คงอยู่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
จรรยา พนาวงค์ และอุไรวรรณ แก้วคำมูล. (2546). ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ม.ป.พ.
ซิ่วหง ฉิน. (2554). การเปลี่ยนแปลงของภาษาจ้วงอันเกิดจากภาวะสัมผัสภาษาจ้วงกับภาษาจีนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ฐิติกาญจน์ ใจไมตรี และอุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). การศึกษาการแปรคำศัพท์ในภาษาพวนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(45), 245-262.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2552). พจนานุกรมภาษาไทใหญ่-ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: แสงศิลป์.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(3), 121-134.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วินัย ภู่ระหงษ์. (2525). หน่วยคำและการประกอบคำในภาษาไทย. เอกสารการสอนภาษาไทย 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2556). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาไทดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(1), 149-173.
องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น. (ม.ป.ป.). ข้อมูลตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง เชียงใหม่, 3 สิงหาคม 2566. http://www.monpinfang.go.th/2023/index.php
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถวิทย์ รอดเจริญ, อุบลวรรณ สวนมาลี, และประเทือง ทินรัตน์. (2559). การศึกษาเชิงสำรวจ: การสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไตหย่า อำเภอซินผิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(46). 331-347.
Thomason, S. G. & Kaufman, T. (1988). Language contact, Creolization and Genetic Linguistics. Berkeley: University of California Press.
Thomason, S. G. (2001). Language contact: An Introduction. Edinburgh. Washington D.C.: Edinburgh University Press.