อิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย

Main Article Content

อรพัช บวรรักษา
วิราพร หงษ์เวียงจันทร์
เนมิ อุนากรสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องอิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยที่มีต่อระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย และ 2) ศึกษาอิทธิพลของคำศัพท์ภาษาไทยที่มีต่อคำศัพท์ภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย ผลการศึกษาอิทธิพลของระบบเสียงวรรณยุกต์พบว่าหน่วยเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทเขินทั้ง 2 ถิ่นมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียงเท่ากัน มีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์เป็น 3 ทาง (Three ways split) เหมือนกัน และมีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ในแนวตั้งตรงกัน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินยังคงอัตลักษณ์หน่วยเสียงวรรณยุกต์ตัวเองไว้ได้เป็นอย่างดี ด้านอิทธิพลของคำศัพท์พบว่าทั้งภาษาไทเขินทั้ง 2 ถิ่นได้รับอิทธิพลจากภาษาไทย   โดยภาษาไทยมาตรฐานมีอิทธิพลต่อทั้งภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุงและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ส่วนภาษาไทย ถิ่นเหนือมีอิทธิพลต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่เท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัลวิไล จรูญโรจน์, หม่อมหลวง. (2559). ภาษาในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พจนี ศิริอักษรสาสน์. (2545). ภาษาถิ่นของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภัสร์ฐิตา ถาวร, ฑัตจยศพล ธนธุวานันท์, สุดธิดา สวนประดิษฐ์ และจุมพิต ศรีวัฒนพงศ์. (2566). ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 23(2), 64–90.

มยุรี พูนผลวัฒนาภรณ์. (2553). การศึกษาระบบเสียงภาษาไทยถิ่นเหนือที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิภาวรรณ ถิ่นจันทร์. (2558). ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นแพร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร, ภาควิชาภาษาศาสตร์: มหาวทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2560). ภาษาไทยถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). ไทขึน. Retrieved on 22 May 2024 from: http://www.arts. chula.ac.th/~ling/tnc3/https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/175/

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2542). การวิจัยภาษาศาสตร์ภาคสนาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น : ภาษาถิ่นตระกูลไทย. นครปฐม: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 25(2), 1-17.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพัช บวรรักษา, วิราพร หงษ์เวียงจันทร์, และเนมิ อุนากรสวัสดิ์. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทเขินที่เชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมากับภาษาไทเขินที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

อุทัยวรรณ ตันหยง. (2526). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาพวน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Egerod SØren. (1957). Essentials of Khün Phonology. Acta Orientalia, XXIV, pp. 123-146.

Gedney, William. J. (1972). A Checklist for determining tones in Tai dialects. Studies in Linguistics in Honor of George L. Trager, Ed. By M.E. Smith, pp.423-437.The Hague: Mouton.

Kullavanijaya, P.,&L-Thongkum, T.(2000). Linguistic criteria for determining Tai ethnic groups: Case studies on central and south-western Tais. Mahidol University, Institute of Language and Culture for Rural Development.

Owen, R. Wyn. (2008). Language Use, Literacy, and Phonological Variation in Khuen. M.A.Thesis, Faculty of Humanities, Payap University.

Petsuk, Rasi. (1978). General Characteristtics of the Khun Language. M.A.Thesis, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.