รูปแบบการดำเนินงานธุรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา The Effective Model for General Administration of Secondary School
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานธุรการสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานธุรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบการดำเนินงานธุรการงานสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้ใช้บริการ และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานธุรการสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดเก็บเอกสาร ด้านการส่งหนังสือราชการ ด้านการรับหนังสือราชการ ด้านการยืมหนังสือ ด้านการทำหนังสือราชการ และด้านการทำลายหนังสือราชการ 2) รูปแบบการดำเนินงานธุรการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย P การวางระบบ (ขั้นตอน) D การปฏิบัติตามระบบ C การตรวจสอบระบบ และ A การปรับปรุงระบบ 3) ผู้บริหาร ครูผู้ใช้บริการและครูผู้ปฏิบัติงานธุรการ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดำเนินงานธุรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
Aims of this research are to study the issues of administrative operation for secondary schools, to develop model of the effectiveness of administrative operation for secondary schools, and to investigate satisfaction of users who use pattern of the administrative operation for secondary schools. The samples of this research are administrators, service users (teachers) and teachers who are administrative officers. Research tool is questionnaires. The statistics to be analyzed by mean and standard deviation. The result shows that the issues of administrative operation for secondary schools are arranged in ascending order from the greatest to least: document storage, official correspondence sending, official correspondence receiving, book borrowing, official correspondence writing and official correspondence shredding. The effective administrative operation that were operated by PDCA cycle consisted of 4 steps: P-system plan, D-Do, C-Check and A-Action. Administrators, service user (teacher) and teachers who are administrative officers had the highest satisfaction with the model of the administrative operation for secondary schools.
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนา
พานิช.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ที.เอส.บี. โปรดักส์.
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และกัลยกร ภิญโญ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
โกวัฒน์ เทศบุตร. (2550). การวิเคราะห์และพัฒนาระบบงานในสถานศึกษา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กศ.ม. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แอล ที เพรส.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
เปมิกา ศรีสุวรรณ. (2556). การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานธุรการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระ). รป.ม. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
เยาวลักษณ์ ง่วนสน. (2551). การพัฒนาการดำเนินงานสารบรรณโรงเรียนนาเชือกวิทยาคม อำเภอยาง ตลาด
จังหวัดกาฬสินธุ์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กศ.ม.มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนเซนต์หลุยส์. (2550). การปรับปรุงขั้นตอนปฏิบัติงานการจัดเก็บเอกสารของแผนกธุรการ.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2551). ครบเครื่องเรื่องธุรการ.กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งธุรกิจ.
วิโรจน์สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษาหลักการทฤษฎีหน้าที่ประเด็นและทางการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
ศิริวรรณ ภูขมร. (2551). การพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนบุญเจริญวิทยา อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรดา สิทธิมงคล. (2551). ประเมินผลนโยบายการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ ของสำนักงาน
ที่ดิน จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญารัฐประศาสนศาสาตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Briggs,A.R.J.; Coleman,M. and Morrison M.E. (2012). Research methods in education
leadership and management. California: SAGE.
Gillian Symon and Catherine Cassell. (2012). Qualitative Organizational Research – Core
Methods and Current Challenges. California: Sage Publication Inc.