บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 Roles of School Administrators for Operating Educational Quality Assurance in Schools under Nakhon Si Thammarat PrimaryEduc

Main Article Content

อุทัยวรรณ นรินรัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ดร. ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

Abstract

บทคัดย่อ


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูและ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตาม สถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน  และประสบการณ์ในการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ครูวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t–test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’)  ผลการวิจัยพบว่า


  1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด      

  2. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และประสบการณ์ในการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน   

Abstract


          The purposes of this research were : 1) to study the roles of school administrators for operating educational quality assurance in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4 based on the opinions of teachers, 2)  to compare the roles of school administrators for operating educational quality assurance in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4 based on the comments of teachers between the state work experience and experience in training with quality assurance in school. The samples of this study consisted of 302 teachers. The research instrument was a questionnaire. The statistics used to analyze the data were percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by independent samples t-test, One-Way ANOVA and using Scheffe’ method after finding its significant differences.


                The findings of this research were as follows:


  1. The roles of school administrators for operating educational quality assurance in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4 were at a high level, arranging from the highest to the lowest mean scores as self-assessment report, internal quality assurance operation, and internal quality assurance preparation respectively.

  2. The opinion of academic teachers and teachers towards the roles of school administrators for supporting educational quality assurance in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4 as classified by positions had no significant difference.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ชัยฤทธิ์ กลิ่นชวนชื่น. (2559). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ
โรงเรียนสายธรรมจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัดกิจกรรมบูรณา
การเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร
นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
ภัทรา ชูเสน. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ภาดา โรจน์ทังคำ. (2557). สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
รจนา มากชุมแสง. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอปะคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารกาศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. อุบลราชธานี: หจก.
อุบลออฟเซฟการพิมพ์.
สัมมา รธนิธย์. (2553). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติ การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (2559). คู่มือการดำเนินงานการประกัน
คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. นครศรีธรรมราช: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัด
การศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การจัดการระบบการบริหารและสารสนเทศภายใน
สถานศึกษาและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 เล่มที่ 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของ
สถานศึกษาสำนักงานทดสอบทางการศึกษา . กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานทดสอบทางการศึกษาสำนักงาน. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา:กรอบแนวคิดการดำเนินงาน.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2547). ระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement.