การพัฒนาการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด โรงเรียน ในการแก้ไขปัญหาเยาวชน ในเขตเทศบาลตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี Participatory Development of Home, Temple and School in Problem Solving of Young People within Phanom Sub-district Municipality, Phonom Distri

Main Article Content

ศุภชัย ทองจันทร์
ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของบ้าน วัดและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของบ้าน วัดและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ผลการวิจัยพบว่า  ระดับการมีส่วนร่วมของบ้าน วัดและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของ “บวร” ในการปฏิบัติและดำเนินการตามแผนงานการแก้ไขปัญหาเยาวชนในชุมชน รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ด้านการมีส่วนร่วมของ “บวร” ในการติดตามและประเมินผล และ ด้านการมีส่วนร่วมของ “บวร” ปัญหาและสาเหตุของปัญหาและปัญหาที่พบในชุมชนได้แก่ ปัญหาด้านยาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนมีการเสพยาเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา 4X100 ปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก่ ความฟุ้งเฟ้อติดเกมส์ ขาดวินัย และขาดจิตสำนึกปัญหาด้านการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนขาดเรียน หนีเรียน ออกกลางคัน ท้องในวัยเรียน


แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของ “บวร” ในการแก้ไขปัญหาเยาวชน พบว่า ครอบครัวต้องมีการพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่เยาวชน รวมทั้งเป็นผู้สร้างความรู้สึกมีคุณค่าให้กับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนเกิดความมั่นใจในตนเอง  โรงเรียน เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะเริ่มคบเพื่อนมากขึ้น และเริ่มสนใจเพศตรงข้าม ต้องการสร้างพฤติกรรมที่โดดเด่น ครูควรเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ และสั่งสอนให้เด็กมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเข้าสู่วัยรุ่น สอนเพศศึกษาให้เยาวชนทราบถึงผลของการขาดความยับยั้งชั่งใจ รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่โน้มน้าวให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ พระสงฆ์ (ศาสนา) ปลูกฝังเรื่องวินัย จิตสำนึก และความรับผิดชอบ ให้เยาวชนได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมทางศาสนา นำธรรมมะเข้ามาเป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญาเสริมสร้างพลังสุขจิตและกล่อมเกลาจิตใจ  โดยจัดกิจกรรมในแบบธรรมะแห่งความสุขที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น การทำบุญตักบาตรไหว้พระฟังธรรม นั่งสมาธิ หรือการเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา  การท่องแดนธรรมในสื่อทางสังคม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมัยใหม่ดังนั้นทั้ง 3 ฝ่าย ควรมีส่วนร่วมในการดูแลเอาใจใส่เด็กเมื่อพบเห็นสิ่งผิดปกติ ปลูกฝังเรื่องวินัย จิตสำนึกให้กับเยาวชน


Abstract


          The purposes of this research were to study the problem of participation of Home, Temple and School in problem solving of young people in Phanom Sub-district Municipality, Phonom District, Suratthani Province and to study the participatory development of Home, Temple and School in problem solving of young people in Phanom Sub-district Municipality, Phonom District, Suratthani Province.


          The results of the study were found that the level of participation of Home, Temple and School in problem solving of young people in Phanom Sub-district Municipality, Phonom District, Suratthani Province, the overall picture and each aspect respectively were at high level such as the participation of HTS toward the implementation/action plan in problem solving of young people in the community, the second was the participation in beneficiaries toward the participation of HTS according to the monitoring and evaluation, the participation in activities plan of HTS and the involvement of HTS in order to find out the problems and cause of problems. And the issues which found in the community was drug problem which found that the young people had Amphetamine Addition, Cannabis and 4X100 (Kratom-Mitragynaspeciosa and mixed with other drugs). Behavioral problems such as overspending, dressing, game addition, lack of discipline, lack of responsibility of their own duties, lack of community participation, no youth power and lack of conscious mind. The Education problems were found that the young people had miss the school classes, dropouts, skip the class, not continue studying in high level, poor, not enough money to continue further study and unemployed.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กองพล สาราษฎร์. (2540). การศึกษาบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อการป้องกัน และการแก้ปัญหาการระบาดของสารเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พุทธชาด คำสำโรง. (2549). พระสงฆ์กับการส่งเสริมเยาวชนและประชาชนในการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติด. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
โสวัฒน์ พรมสุพรรณและคณะ. (2551). กระบวนการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน และ ชุมชนในการปลูกฝังคุณธรรมด้านความมีระเบียบวินัยสำหรับเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านนาดี อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิริชัย กาญจนวาสีและคณะ. (2555). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.