รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน The Community Model for Sustainable Learning
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน พื้นที่การศึกษาเลือกแบบเจาะจง เป็นชุมชนที่มีความพร้อมในส่วนของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ ที่ยั่งยืนของชุมชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบุคคลและส่วนที่เป็นชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านหว้าใหญ่ ตำบลไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเชิงคุณภาพ เน้นการปฏิบัติการชุมชนภาคสนามมีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่การสังเกตและบันทึก การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกผลหลังการปฏิบัติการ และแบบบันทึกผลการถอดบทเรียนด้วยรูปแบบตาปูเกลียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมมนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
บริบทชุมชนบ้านหว้าใหญ่ ที่ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ประกอบด้วย บริบททางกายภาพ มีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก ความหลากหลายของสภาพนิเวศและอาชีพของชุมชน มีความสมดุลระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ บริบททางสังคม มีความสัมพันธ์ช่วยเหลือแบ่งปันกันแบบเครือญาติ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน สภาพทางประเพณีและวัฒนธรรม วิธีคิดและพฤติกรรมของคนในชุมชนเป็นตัวยึดโยงให้คนในชุมชนมีความรู้สึกผูกพันและใกล้ชิดกันเป็นกลุ่มสังคม ปัจจัยที่เกิดจากพลังทางความสัมพันธ์ของเครือญาติ เพื่อนบ้าน รวมถึงงานประเพณีต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน จึงเปรียบเสมือนเป็นพลังหนุนเสริม ในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่างๆ ขึ้นในชุมชน
การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชนบ้านหว้าใหญ่ ประกอบด้วย 1) บุคคลแห่งการเรียนรู้ 2) กลุ่มคนแห่งการเรียนรู้ 3) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน (LICA Model) เป็นรูปแบบที่เป็นการสร้างผู้นำ กลุ่มคนที่เข้มแข็ง ในชุมชน และมีกิจกรรมการพัฒนาที่ต่อเนื่องจนกลายเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
Abstract
The Community Model for Sustainable Learning aims to 1) to study the issue of a sustainable learning community, 2) to develop learning form of community sustainable, and 3) to performance appraisals of learning form of community sustainable. The study area was choosing purposive sampling. It was preparedness community for people and community such as Banwahyai community, Saimak sub district, Chernyai district, Nakhonsithammarat province. This research was research and qualitative development to focused approach to Community Field. The research is divided into three steps such as the first steps was the study the issue of a sustainable learning community, the second steps, develop learning form of community sustainable, and the third step performance appraisals of learning form of community sustainable. The instrument used observed and recorded interviews, focus group discussions, writing form performance and writing form of Spiral model lesson learned. That data were analyzed using analysis seminar. The result found that
- Banwahyai community has a result, people in the learning process of the community. The Physical context way of life that is linked with agriculture as the main. The variety of ecological conditions and professional community. There is a balance between human society and the natural and social context. Relationships help share a kinship. Participate in activities together. The tradition and culture, thinking way and behavior of people in the community as a placeholder give the community a sense of commitment and closer together as a social group. The factor of the power relations of kinship neighbors, including traditional events happening in the community. It like a power enhancement and to drive the learning process, foster learning in the community.
- Development learning form of community sustainable has suitability and consistent with Banwahyai community. Such as 1) people of learning, 2) people group of learning, 3) community of learning.
- Community learning sustainable pattern (Lica Model) was model that creates leaders. People in the community and have a strong development activity continuing into Community Learning sustainable.
Article Details
References
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2557:
จาก https://www1.nrct.go.th/downloads/sci_adviser/manual_develop_community.pdf
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
สุนัย เศรษฐบุญสร้าง. (2551). การเรียนรู้ร่วมกันแบบมีเข็มมุ่งสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพมหานคร: ธนาคารออมสิน.
เสรี พงศ์พิศ. (2551). แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.
สุวิธิดา จรุงกียรติกุล. (2554). การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม.คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). วิธีวิทยาการประเมินความสำเร็จของการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสังคม
แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
อรวรรณ แซ่อึ่ง, หัสชัย สิทธิรักษ์, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การถอดบทเรียนการ
ผลิตไบโอดีเซลล์จากน้ำมันพืช โรงเรียนบางขันวิทยา อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
Sangsi,S. (2005). The Development of Community for the Society.Bangkok : The Development
of Learning and Wisdom, and Tourism. The Standard of Education and Learning ONEC.
Wattanachai, K. (2006). The Education for Sustainable Development of Life. Bangkok: College
of Local Administration Institute.