อุปลักษณ์ในข่าวความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ Violence in The South of Thailand : Metaphor in The News
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาอุปลักษณ์ตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน กล่าวถึงระบบปริชานของมนุษย์ที่นำเอาอุปลักษณ์ไปใช้ถ่ายทอดความคิดเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งไกลตัว สิ่งที่เราไม่คุ้นเคย หรือไม่เคยมีประสบการณ์ กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรมน้อยกว่า ในข่าวปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก มติชน เนชั่น และผู้จัดการ ปรากฏการใช้รูปภาษาถ้อยคำอุปลักษณ์ในข่าวปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถแบ่งตามวงความหมายได้ 5 วงความหมาย คือ วงความหมายเกี่ยวกับความเป็นโรค วงความหมายเกี่ยวกับแบบทดสอบ วงความหมายเกี่ยวกับการเดินทาง วงความหมายเกี่ยวกับการแสดง และวงความหมายเกี่ยวกับไฟ สะท้อนทรรศนะต่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 5 มโนอุปลักษณ์ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความเป็นโรค 2) ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การทดสอบ 3) ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การเดินทาง 4) ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ แบบการแสดง และ 5) ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ไฟ
Abstract
The study of metaphor in cognitive linguistics refers to the understanding of the ideas and concepts through another conceptual domain which are less abstract. The articles regarding violence in the south of Thailand which have been published on newspapers of Daily News, Khaosod, Kom Chad Leuk, Matichon, Nation and Manager, can be categorized into 5 conceptual domains 1.Comparing violence with a disease 2.Comparing violence with a Test 3.Comparing violence with a Journey 4 Comparing violence with a Performance and Comparing violence with Fire.
Article Details
References
มหาบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ .จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2538). การศึกษามโนทัศน์ของคำว่า “เข้า”. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2551). อุปลักษณ์ที่นักการเมืองใช้: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
และวัจนปฏิบัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อุษา พฤฒิชัยวิบูลย์. (2544). การศึกษาอุปลักษณ์เรื่องการเมืองในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์
ปริชาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lakoff. (1987). Women, Fire and Dangerous Things: What categories Reveal about the
Mind. Chicago: University of Chicago Press.
Lakoff, George and Mark, Johnson. (2003). Metaphor we live by. USA: Chicago
Lions, John. (1996). Linguistic Semantics: An introduction. New York: Cambridge University
Press.
Taylor, John R. (1995). Linguistic Categorization: Prototype in Linguistics theory. Second
edition. Oxford: Carendon Press.