กลยุทธ์การสื่อสารของหนังตะลุงเทพสิน ผ่องแก้ว ตะลุง 3 ภาษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุวิมล เวชวิโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษากลยุทธ์การผ่านหนังตะลุง เป็นการทำความเข้าใจสื่อและวัฒนธรรมแห่งการดำรงอยู่หรือปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับกับสภาพของบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องอาศัยกลยุทธ์หรือวิธีการในการสื่อสาร ด้วยการเลือกใช้รูปแบบธรรมชาติของการสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้ สามารถจำแนกการสื่อสารผ่านหนังตะลุง แบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคอดีตนายหนังเลือกใช้กลยุทธ์ปิดช่องทางการสื่อสารกับบุคคลภายนอก หรือมีลักษณะต่อต้าน (resistance) ไม่ให้วัฒนธรรมภายนอกไหลเข้าสู่พื้นที่ทางกายภาพของคณะหนังตะลุง และยุคพ.ศ. 2546-ปัจจุบัน สังคมเริ่มมีแนวโน้มเปิดตัวต่อสังคมภายนอกมากขึ้น ทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประการ กล่าวคือ ประการแรก การใช้กลยุทธ์ การขยายศักยภาพการสื่อสารด้วยการภาคได้ถึง 3 ภาษา คือ ภาษาไทยกลาง ภาษาถิ่นใต้ และภาษาอังกฤษ ประการที่สอง กลยุทธ์การขยายต้นทุนชีวิต และประการที่สาม กลยุทธ์การเสริมเครือข่าย ในรูปแบบของการขยายพื้นที่ การขยายกลุ่มคน และการขยายไปยังสื่อประเภทอื่นๆ   

Article Details

Section
บทความวิชาการ

References

Reference

Boontip, K. (2006). ANALYSIS , TA-LUNG'S CLOWNS , TRADITIONAL MEDIA. Thesis of the
Requirement for the Degree Master of Education, Department of Educational
Administration Graduate School. Chulalongkonmahawitthayalai. (in Thai).
Kaeothep, K. (2006). Communication and Cultural Domination. Bangkok: Edisonpress
product.co.ltd. (in Thai).
Lapboon, P. (2007) . Communication and Cultural Through the media play shadow.
Thesis of the Requirement for the Degree Master, Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Nakre, P. (2006). The promotion of shadow plays for teenage spectators in Songkhla
Province. Thesis of the Requirement for the Master Degree of Faculty of Journalism
and Mass Communication, Thammasat University. (in Thai).
Narongrad, R. (2005). MASS MEDIA AND MODIFICATION OF SHADOW PUPPETS 'NUNG TA
LOONG'. Thesis of the Requirement for the Master Degree of Mass Communication,
Chulalongkorn University. (in Thai).