ศักยภาพการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช The Tourism Potential in Thamyai Sub-district, Thungsong District, Nakhon Si Thammarat Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยว และแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คณะผู้วิจัยทบทวนเอกสารต่างๆ ทำการสำรวจและศึกษาข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยว และประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวโดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว เครื่องมือจับพิกัดดาวเทียม (GPS) แบบประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการศึกษา พบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวในตำบลถ้ำใหญ่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ วัดถ้ำใหญ่ สำนักสงฆ์ถ้ำพระหอ (2) การเกษตร ได้แก่บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง (3) ธรรมชาติ ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านวังไทร (ถ้ำพระหอ) น้ำตกโยง น้ำตกปลิว น้ำตกวังปริง และถ้ำใหญ่ และ (4) วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี และกิจกรรม ได้แก่ ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยบ้านช่องเขา กลุ่มจักสานจากเส้นพลาสติกและกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าเวียงทอง ขณะที่ศักยภาพการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.20 (ปานกลาง) ด้านที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย 3.38, สูง) รองลงมา ได้แก่ ด้านพื้นที่ (ค่าเฉลี่ย 3.28, ปานกลาง) ด้านการจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.07, ปานกลาง) และด้านกิจกรรมและการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 3.04, ปานกลาง) ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านพื้นที่ควรนำเสนอเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ปรับปรุงถนน ทำป้ายบอกทางที่ต่อเนื่องเป็นระยะ ด้านการจัดการควรพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว ดูแลและเข้มงวดการใช้งานแหล่งท่องเที่ยว พบปะพูดคุยกันในชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้านกิจกรรมและการเรียนรู้ที่ควรเน้นกิจกรรมที่หลากหลายอาจทำเป็นโปรแกรมทัวร์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เน้นสร้างจิตสำนึกร่วมกับชุมชน และด้านการมีส่วนร่วมควรให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และมีการกระจายรายได้ให้ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
Abstract
This research aims to survey tourism resources; study tourism potential as well as guidelines for tourism development in Tham Yai Sub-district, Thung Song District, Nakhon Si Thammarat Province.
Research team reviewed, surveyed, studied and evaluated the potentiality of tourism by using the research tools including tourism resource survey, Global Positioning System (GPS), tourism potential evaluation form, and focus group meeting. From the study, it can be found that tourism resources were divided into
4 aspects; 1) Historical and archaeological tourism included Tham Yai temple and Tam Pra Hor Buddhist monastery 2) Agricultural tourism included the Sufficiency Economic Demostrated House 3) Natural tourism includes Baan Wangsai community forest, Yong Waterfall, Pliw Waterfall, Wang Pring Waterfall, and Yai Cave
4) Cultural tourism and Tourism activities included Baan Chong Khao Thai Massage Training Center, Wiang Thong Grass Broom Weaving Group and Plastic Basketry Group. Considering in tourism potential of Tham Yai Sub-district, it can be found that the overall tourism has intermediate potential, which has the average score of 3.20. Considering in each aspect, the participation aspect is in highest level condition, followed by the area, the management, and the activities and learning, which have the average score of 3.38 (medium), 3.28 (medium), 3.07 (medium), and 3.04 (medium) respectively. Considering each guideline for tourism development in Tham Yai Sub-district showed that the aspects of the area should propose uniqueness of tourist attractions in Tham Yai sub-district; improving the facilities such as roads; setting the direction signs to each tourist spots up for a continuously period, the aspects of the management should develop and improve the facilities and infrastructure; number of tourists limitation; strictly measures on visiting tourist attractions; regularly meeting up with the community to ensure that get sustainable tourism management, the aspects of the activities and learning should focus on a variety of activities may be a tour program in accordance with tourist behavior; emphasizing on building community consciousness, and the aspects of the participation should give opportunities for the community to take part in tourism management; equitable allocation of tourism benefits.
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (กรกฎาคม 2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114
กรมการท่องเที่ยว. (2557). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมการท่องเที่ยว. (2558 ก). การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : วี.ที.เค. พริ้นท์ติ้ง.
กรมการท่องเที่ยว. (2558 ข). รายงานสถานการณ์นักท่องเที่ยว ประจำปี 2557. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
คมสัน สุวรรณรัตน์. (2558). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์สู่ระดับสากล ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ชมรมมัคคุเทศก์อาชีพภาษาอังกฤษ และชมรมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (อัดสำเนา).
ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2558). พระบรมธาตุสู่มรดกโลก. นครศรีธรรมราช : ไทม์ พริ้นติ้ง.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2547). การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
ชลดรงค์ ทองสง และอำนาจ รักษาพล. (2553). โครงการวิจัยศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดชุมพรและแนวทางในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2546). เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
(อัดสำเนา).
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. คณะบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. กรุงเทพฯ. (อัดสำเนา).
นฤชิต ดีพร้อม ปุณยวีร์ ศรีรัตน์ และภฤศสร ฤทธิมนตรี. (2552). โครงการยกระดับงานวิจัยท้องถิ่นสู่การพัฒนาเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างการเรียนรู้ : โปรแกรมการท่องเที่ยวและการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนแม่เจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2551). การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : ซีวีแอล การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภฤศสร ฤทธิมนตรี ปุณยวีร์ ศรีรัตน์ นฤชิต ดีพร้อม และ วสันต์ ไทรแก้ว. (2554). โครงข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตำบลเขาพระ อำเภอ
พิปูน. โครงการเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก สกอ. ภาคใต้ตอนบน สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา.
มาลินวิษา ศักดิยากร และสมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2558). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์สาขาการท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. (อัดสำเนา).
ราเมศร์ พรหมชาติ. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรณีศึกษาบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วนิดา เชียงอารีย์ และ สาวิกา ขุนราม. (กรกฎาคม 2555). นครศรีดี๊ดี Nakhonsi, The Great Wonder นครแห่งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ใน Nature Explorer, 13(145), 26-58.
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์. (5 สิงหาคม 2560). “อพท.” ต่อยอดวัฒนธรรมพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ปูพรม 39 กิจกรรมใน 6 พื้นที่พิเศษ. มติชนออนไลน์ คอลัมน์นิวส์มอนิเตอร์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2560, จาก https://www.matichon.co.th/news/618896
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และจิตศักดิ์ พุฒจร. (2545).
กลยุทธ์และกระบวนการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. นครศรีธรรมราช : สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ศูนย์วิจัยด้านการท่องเที่ยว. (2558). เข็มทิศท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2558). แผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช.
สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560, จากhttps://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/datacenter/detail.php?news_id=1010291
สิริกร เลิศลัคธนาธาร. (2554). รายงานการวิจัยการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ พิเชฐ สายพันธ์ อรอุมา เตพละกุล และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างอย่างยั่งยืน (อพท.). (2554). การตลาดและการบริการเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนที่ยั่งยืน : โครงการอบรมการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น. อพท.นิวส์ สื่อการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. 2(15), 8-9.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างอย่างยั่งยืน (อพท.). (2558). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.
อำนาจ รักษาพล. (2554). คู่มืออบรมประกอบโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการบริหารการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมการท่องเที่ยว. (อัดสำเนา).
Thai Air Asia . (10 มกราคม 2561). เทรนด์ท่องเที่ยวปี 2018… “ไม่ใช่แค่เที่ยว แต่คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์”. Travel 3Sixty Magazine, สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561, จากhttps://issuu.com/maxposure/docs/travel-3sixty-january-2018