ต้นทุนโลจิสติกส์ของการขนส่งนักท่องเที่ยวหลายรูปแบบในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ระหว่างประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย Logistics Cost for Multimodal Transportation among ASEAN Tourism Industry: A Case Study in the Tourism Routes between Champasak Province of Lao People's Democratic Republic and Ubon Ratchathani Province of Thailand

Main Article Content

ดร.นัทธพงศ์ นันทสำเริง

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการขนส่งนักท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย กับแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในแต่ละรูปแบบของการขนส่งนักท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทยกับแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ในการศึกษารูปแบบของการขนส่งนักท่องเที่ยว พบว่า ยานพาหนะที่ใช้ในเส้นทางการเดินทางประกอบด้วย 10 ประเภท ได้แก่ รถสองแถว (รถสาย) รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก รถแท็กซี่ (วิ่งในเมือง) รถแท็กซี่ (วิ่งทางไกลระหว่างอำเภอ) รถบัส (อุบล-พิบูล) รถตู้ (อุบล-ช่องเม็ก) รถสองแถว (พิบูล-ช่องเม็ก) รถทัวร์ระหว่างประเทศ (อุบล-ปากเซ) รถตู้วังเต่า (ช่องเม็ก-ปากเซ) โดยประเภทยานพาหนะจะสามารถนำมาจัดเชื่อมกันกลายเป็นรูปแบบการขนส่งนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันได้ 60 แบบ


ในการศึกษาต้นทุน ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลต้นทุนค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะชนิดต่าง ๆ โดยจำกัดการเดินทางจากต้นทางคือ สถานีรถไฟอุบลราชธานี สนามบินนานาชาติอุบลราชธานีและ สถานีขนส่งอุบลราชธานี ถึงปลายทางคือ สถานีขนส่งหลัก 8 ปากเซ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณและวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางที่ 55 รถตู้อุบลพิบูล-รถสองแถว (ช่องเม็ก) -รถตู้วังเต่าและ เส้นทางที่ 57 รถบัสอุบลพิบูล-รถสองแถว (ช่องเม็ก) -รถตู้วังเต่า มีต้นทุนต่ำที่สุดเท่ากับ 190 บาท ส่วนต้นทุนของผู้รับบริการที่สูงที่สุด คือ เส้นทางที่ 30 รถตุ๊กตุ๊ก-รถแท็กซี่ (ช่องเม็ก) -รถตู้วังเต่า ซึ่งมีต้นทุนเท่ากับ 1,300 บาท        

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

Chong Mek customs clearance. (2015). Statistics of vehicles and people entering and leaving the fiscal year 2015 . Search on December 18 , 2015, from https://www.chongmekcustoms.com/default.asp?content=contentdetail&id= 27089
Consulate-General in Savannakhet. (2016). Tourism Statistics in Lao PDR . Search on November
28, 2016, from https://www.thaisavannakhet.com/savannakhet/th/data-service/static-thai/
Department of Tourism. (2016). Statistics of foreign tourists entering Thailand in 2015.
KASIKORN RESEARCH CENTER . (2012). from Land-Link to Land-Link Country Lao tourism.
Khownsaad, M. (2008). Sustainable Tourism Development in the Mekong River Basin 3: Logistics Comparison . Chiang Mai : Institute for Social Research Chiang Mai University. (in Thai).
National Statistical Office. (2016). Tourism Situation in 2009 - 2015. Search on November 28, 2016, from https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html.
potential. Search on July 20, 2016, from https://www.kasikornresearch/th.
(By nationality and residence). Search on December 8, 2016, from https:// https://tourism2.tourism.go.th /home/details/11/221/24710.
Online Business. (2014). Laos Boom Tourism Talu Thai people visit No. 1 . Search on October 18, 2559, from https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392268741