แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างการขยายตัวเมืองสุราษฎร์ธานี Structural Equation Model of Urban Expansion in Suratthani
Main Article Content
Abstract
ในปัจจุบันอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมีการขยายเขตเมืองออกสู่เขตพื้นที่นอกเขตเมืองเดิมเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง และหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นคือการมีจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและพัฒนานโยบายเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวเมืองที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการรวบรวมและศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการขยายตัวเมืองดังกล่าว 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านบริการสังคม และปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชากรตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีที่มีความพร้อมในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มประชากรตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีการตรวจสอบโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปรที่ส่งผลต่อการขยายตัวเมืองสุราษฎร์ธานี
ผลจากการวิจัย พบว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจส่งผลต่อการขยายตัวเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด เมือนำประเด็นของการเป็นแหล่งเศรษฐกิจหรือการมีสถานประกอบการ รายได้ ค่าครองชีพ การมีงานทำ ประเด็นเหล่านี้สามารถอธิบายปัจจัยด้านเศรษฐกิจคิดเป็นอัตราร้อยละ 76 ของปัจจัยทั้งหมด และประชากรที่อาศัยในพื้นที่เขตเมืองให้ความสำคัญกับประเด็นของเส้นทางคมนาคม ที่ตั้งของเมือง แหล่งน้ำ และพื้นที่สีเขียว แต่กลับไม่เห็นว่าลักษณะของที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่อาศัยในเขตเมือง ซึ่งประเด็นดังกล่าวสามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีได้ร้อยละ 68 จากปัจจัยทั้งหมด ส่วนปัจจัยทางด้านการบริการสังคม ถูกอธิบายด้วยประเด็นด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพียงร้อยละ 59 และมีอัตราร้อยละ 56 ที่เป็นสัดส่วนของปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากประชากรให้ความสำคัญในประเด็นของนโยบายและแผนพัฒนา รวมถึงมาตรการป้องกันความปลอดภัยและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีใกล้เคียงกับปัจจัยด้านการบริการสังคม ทั้งนี้ทั้ง 4 ปัจจัยหลักมีอิทธิพลต่อการขยายตัวเมืองสุราษฎร์ธานีถึงอัตราร้อยละ 85 ถือได้ว่าปัจจัยที่นำมาให้วิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแปรในการดำเนินวิจัยครั้งนี้มีอิทธิพลในระดับสูง แต่ยังคงมีปัจจัยอีกอัตราร้อยละ 15 ที่อาจเป็นประเด็นของปัจจัยอื่นที่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้นั้นเอง
Article Details
References
potential. To settle and develop the city in Samut Sakhon, Nakhon Pathom, Samut Songkhram, Phetchaburi. And Hua Hin Using the Potential Surface Analysis (PSA).
Journal of Urban Planning and Research.
Heir, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., and Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis.
Prentice-Hall International, Inc., 5th Edition, Chapter 11.
Jarupantisat, T., Molee, A. and Srithong,S. (2014). Geo-informatics, land use and population in
coastal areas. Ban Don Bay Surat Thani Province during the year 2001 - 2011. Full research reports. Development of research projects. And spatial research support. Surat Thani, 3rd edition, FY 2013.
Kirakasikron, C., Mongkon, S., Suwunwekomton, R. and Suttitham, T. (2007). Spatial simulation
The model of community expansion in Amphoe Mueang Nakhon Ratchasima Remote sensing information and geographic information systems. Journal of the Remote Sensing and Geographic Information Society of Thailand.
Lee, E.S. (1966). A Theory of Migration. in Demography,Vol. 3 No. 1.
PRESS RELEASE LOCAL. (2015). Surat Thani Provincial Police Release a row of criminals for
crimes. After finding the crime statistics in the area is still high.. [online] https://thainews.prd.go.th/ website_th/ news/print_news/WNSOC5801300010003: [2015, September 15].
Wasae, P. (22010). Factors Affecting Population Growth in the Receiver Area of the East Coast
Bangkok. 48th Kasetsart University Annual Conference: Architecture and Engineering
(page 106-113) Bangkok: Kasetsart University.
Wilson, A.R. and Schulz, D.A. (1978). Sociology, Urban; City and town life; United States. (pp42-47). Prentice-Hall (Englewood Cliffs, N.J.).