การศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช A Study on the Guideline for Management of Garbage in Nareng Sub - District Municipality, Noppitam District Nakhon Si Thammarat Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อค้นหารูปแบบและวิธีการในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi-Metheds research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 30 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ 1) ปลัดเทศบาลตำบลนาเหรง 2) หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ 3) ผู้อำนวยการกองช่าง 4) ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลนาเหรง 9 หมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาเหรง หมู่บ้านละ 2 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การเสวนากลุ่ม (Focus Group) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participutory Action Research: PAR) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาบรรยายข้อมูลตามสภาพจริง
ผลการวิจัยพบว่า
1) เทศบาลตำบลนาเหรงอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาณขยะที่เกิดจากครัวเรือนและตลาดในชุมชน เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมากขึ้นจากการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีแผนปฏิบัติการในการจัดเก็บขยะในพื้นที่ที่รับผิดชอบ แต่ระบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรงยังมีปัญหาในด้านการดำเนินการ มีความล่าช้าในการจัดเก็บและไม่สามารถจัดเก็บขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีข้อเสนอแนะ คือ ให้มีการรณรงค์ ทำความเข้าใจ ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยให้แต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะมูลฝอยภายในครัวเรือนของตนเองก่อน และนำขยะที่แยกได้เข้าสู่กระบวนการต่างๆ เช่น (1) ขยะอินทรีย์ ให้แต่ละครัวเรือนนำไปสู่กระบวนการปุ๋ยหมักชีวภาพ (2) ขยะรีไซเคิล ให้แต่ชุมชนจัดตั้งธนาคารเพื่อจะนำขยะไปสู่กระบวนการธนาคารขยะ (3) ขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ให้ครัวเรือนจะนำไปทิ้งเอง เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน (4) ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอย
3) จากการวิจัย ได้ค้นพบและรูปแบบ 5RCWb Model เป็นรูปแบบในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมในการเสนอและออกแบบ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญและประชาชนในพื้นที่ สามารถนำรูปแบบ 5RCWb Modelนำไปใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
Article Details
References
Pollution Control Department. (2016). Summary of Thailand,s Pollution Event in 2015. Bangkok
.Pollution Control Department, 2016 (Online).source.www.pcd.go.th(August 10,2017)
Nareng Sub-District Municipality. (2016) Waste Collection Information.document Nareng Sub-
District Municipality. (in Thai)
Lertgrai, Punya. & Nilakan, Lunjakon. ( 2016, July-December). Data collection in fieldwork of Communityresearch. Nagabut Journal Review, 8(2). Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si ThammaratRajabhat University. (in Thai)
Office oftha National Enuironment Board.2014 Summary of the 11th National Economic and
Social Development Plan.2012-2016 (Online).source www.sc.mahidol.ac.th. (August 10. 2017)
Prasan Tangslkbut.(1999) Include articles on environmental management. Human Resource
Management. Dapartment of Secondary Education Faculty of Education Chiang Mai University Page 72.
Punya Lertgrai, Siriporn Muenhat, LanjakornNilkarn.(2017). Development of theoretical learning
organization. Nagabut Journal Review Nakhon Si ThammaratRajabhat University. Vol 9 No 1 (in Thai)
Sudawanmeebua, WanchaiUejitmet, WateeSubsin. (2560).Changes in The Way of Life and The
Impact of Tourism on The Local Way of Kiriwong Life. Nagabut Journal Review Nakhon Si ThammaratRajabhat University.Vol 9 No 1 (in Thai)
Wichain Manlae (2016) The Development of network system for teacher-libraranto
developself-directedlearning of student in Nakhon Si Thammarat. Nagabut Journal Review Nakhon Si ThammaratRajabhat University.Vol 8 (1) (in thai)