การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 The Development of Quality Early Childhood Education of Schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4

Main Article Content

นันทา ผกากรอง
กุสุมา ใจสบาย
บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำแนกเป็น สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA


ผลการวิจับพบว่า


  1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณภาพการจัดการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านมาตรการส่งเสริม ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ

  2. การเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 พบว่า

2.1 การเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน          เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา และตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน


2.2 การเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน           เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้                       


ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านมาตรการส่งเสริม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD (Least Significant Difference)  พบว่า สถานศึกษาขนาดกลางมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย โดยรวม แตกต่างกับสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Reference
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, Ministry of Education. (2003). Early Childhood Curriculum B.E. 2546. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Chatmongkon Rattanapunya. (2014). The Study of Relationship Between the Internal Quality Assurance on the Early Childhood Educational Standards and the Results of Development Evaluation on the Early Childhood Students in Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The Far Eastern University Graduate Journal. year 2, Issue 1, June 2013 – May 2014.
Ministry of Education. (2005). Handbook Early Childhood Curriculum B.E. 2546. Bangkok: Ministry of Education.
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2542 and Amendment (Second National Education Act B.E. 2545. Bangkok: Prikwarn Graphic co.ltd.
Pathumporn Rongbotsri. The Implementation on Early Childhood Education Standards in the Aspect of Learners’ Quality of School Administrators under Nakhon Phanom Educational Service Area Office 2, Master of Education Program in Educational Administration, Nakhon Phanom University.
Rayka Srivichai. An Administrative Model for The Effective Early Childhood Private School in Nonthaburi Province (Doctor of Philosophy’s Thesis). Educational Administration, Sripatum University.
Samrit Hawhan. (2015). Model of Early Childhood Education Management in Small Schools under the office Udonthani Primary Educational Service Area 3. Journal of Educational Mahasarakham University.
Suppaluk Visetchoke. Early Childhood Education Administration in the Institution under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2. Educational Administration, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
Thanin Silpjaru. (2012). Research and analysis of statistical data with SPSS. 7th edition. Bangkok: Business R&D.
Thikumporn Sirichantapan. (2012). Effectiveness of Educational Management Based on Early Childhood Education Standard in Kindergarten Schools Under The Office of Private Education Commission, Ministry of Education Sakon Nakhon Province (Master’s Thesis). Educational Administration, Sakon Nakhon Rajabhat University.
Wasuklit Suwannathen. (2016). Quality of Early Childhood Education: Causal Factors. Silpakorn University Journal Thai. Humanities, Art and Social Sciences Studies. year 9, Issue 3, September - December 2016.
Buford, Juanita Faye. (1997, March). “Parents perceptions of early Childness,”. Dissertation abstracts lntemational. 9 (37): 5688-A.
Liang Pi - Ming. (201l). "Parents' Perceived Quality of and Satisfaction with Early Childhood Programs : A Study of Taiwanese Pasents who have a Child Enrolled in Kindergarten," Dissertation Abstracts International. 6l(3) :904 - A; September.